วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพระราชดำริ การพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรง ครองราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์แห่งราชบัณฑิตสถาน และดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวลกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการในพระราชดำริอันเกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาพลังงานทางเลือกมากมาย ในฐานะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและทำงานด้านพลังงาน ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เล่าถึงความประทับใจโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

" ผมอยากขอยกตัวอย่างโครงการในพระราชดำริ อาจไม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนโดยตรง แต่เป็นผลพลอยได้คือเรื่องเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนมีเขื่อนกรุงเทพฯน้ำท่วมทุกปี เสียหายปีละเป็นพันล้าน เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ ปัญหาน้ำท่วมหายไปเลย เพราะฉะนั้นในแง่การป้องกันน้ำท่วมก็ได้ประโยชน์คุ้มค่าไม่รู้กี่เท่าตัว นอกจากนั้นชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์หลายๆ จังหวัดอาศัยน้ำท่วมในการทำเกษตรกรรม สมัยก่อนไม่เห็นไร่องุ่นแถวๆ นั้น มาตอนนี้เต็มไปหมดเลย และล่าสุดก็เพิ่งติดตั้งกังหันน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า เท่ากับเป็นผลพลอยได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักฯเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างโดยไม่มีปัญหา ผมเข้าใจว่าท่านที่ดูแลโครงการนี้มาตั้งแต่ต้นคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านใช้เวลา 2 ปี อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจก่อนจึงเข้าไปทำเขื่อนเขื่อนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีใน การใช้ประโยชน์ในลักษณะหลายวัตถุประสงค์" ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เล่าถึงความประทับใจในโครงการพระราชดำริเช่นกันว่า

"ถ้าใครมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวของเรา โดยเฉพาะโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เราจะได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวมาก พระองค์ท่านทรงมีสายพระเนตรยาวไกลมากในเรื่องปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน เพราะฉะนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงมีโครงการหลายๆโครงการที่สวนจิตรลดา โครงการสำคัญที่เราคุยกันมากก็คงเป็นโครงการผลิตเอทานอล ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ อย่างที่อาจารย์ปรีดาพูดว่าสมัยก่อนผลิตขึ้นมาแล้วเอาไปทดแทนน้ำมัน ดูเหมือนว่าไม่ค่อยคุ้ม เพราะเอทานอลราคาแพง เมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน เพราะว่าเมื่อก่อนเราใส่ตะกั่วลงในน้ำมัน ต่อมาเรายกเลิกไม่ใส่ตะกั่ว ไปใส่ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งต้องไปซื้อจากเมืองนอก พอมาเทียบราคากับเอทานอลซึ่งใส่แทน MTBE ได้ ก็ปรากฏว่าราคาใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องไปนำเข้าสิ่งที่เราผลิตได้ภายใน ประเทศ....

โครงการเอทานอลของพระเจ้าอยู่หัว ฃเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ แต่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากๆ คงเป็นเมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ตอนนั้นทั้ง ปตท.และบางจากร่วมกันนำเอทานอลมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จำหน่าย เราทำมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ ก็เป็นที่นิยม ส่วนเรื่องไบโอดีเซ, พระเจ้าอยู่หัวทรงมีโครงการไบโอดีเซลมาหลายปี เดิมทีพระองค์ท่านมองเรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อมามีการสร้างโรงงานไบโอดีเซลในสวนจิตรลดา ปัจจุบันโรงงานไบโอดีเซลที่ทำอยู่สามารถผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพค่อนข้างดีมาก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางโครงการส่วนพระองค์ฯจัดทำขึ้นมา และวันนี้ก็มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลายกลายเป็นไบโอดีเซลชุมชนมาก ขึ้น"

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววเป็นแนวทางให้ทั้งรับบาลและ เอกชนดำเนินการพัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปได้ใน เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล

เอทานอล

เอทานอลสามารถผลิตได้จากพืชหลายชนิด เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เซลลูโลส ฯลฯ พืชแต่ละชนิดมีแนวโน้มในการพัฒนาและข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ให้ข้อมูลว่า

" ประมาณ ๕ ปีก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายเรื่องเอทานอล คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตามแนวพระราชดำริดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตเอทานอล ซึ่งประเทศไทยใช้อ้อยและมันสำปะหลัง...

"
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิง
ชีวภาพให้เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล
"

พืชอีกสองชนิดที่คาดว่าน่าจะนำมาผลิตเอทานอลได้คือ ข้างฟ่างหวาน ซึ่งใช้ในการผลิตส่าเหล้า ราคาไม่ได้แพงกว่ามันสำปะหลัง น่าสนใจมาก เพราะปลูกได้ดีในแถบอีสาน ตอนนี้กำลังทำวิจัยว่าถ้ามรการผลิตในเชิงพาณิชย์ราคาจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีโอกาสมากที่จะเป็นพืชสำรองให้กับมันสำปะหลัง...

ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งคือ แก่นตะวัน หรือเจรูซาเลม อาร์ติโชก เป็นพืชรับประทานที่มทีน้ำตาลสูงมาก ใช้เวลาเติบโต ๔ เดือน ก็น่าสนใจมาก แต่ข้อมูลยังน้อยอยู่ ต้องวิจัยเพิ่มเติม...

ในสหรัฐอเมริกาเขาเป็นห่วงเรื่องพืชอาหารมาก เพราะเขาทำเอทานอลจากข้าวโพด ปีที่แล้วประธานาธิบดีบุชให้เงินวิจัยเรื่องเซลลูโลสซึ่งมันคือน้ำตาลที่ใช้ ทำแอลกอฮอล์ รวมไปถึงฟางข้าว ต้นพืชทั้งหลายที่อยู่ในไร่นา ว่าสามารถนำมาทำเอทานอลได้หรือไม่ เพราะต้องการสงวนพืชอาหารเอาไว้"

แม้ว่าประเทศไทยยกเลิกการเดินสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินในปี พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ก็ต้องนำเข้าสารเพิ่มออกเทนอีกตัวคือ MTBE ต่อมาพบว่าสามารถนำเอทานอลมาใช้แทนสาร MTBE ได้ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป จะมีการยกเลิกการเติมสาร MTBE ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในอากาศเช่นกัน โดยเปลี่ยนมาใช้เอทานอลแทน นโยบายดังกล่าวนอกจากจะดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้ประเทศประหยัดเงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ประเด็นนี้ ดร.อนุสรณ์ ให้ความเห็นว่า

"ประเทศเราต้องนำเข้าพลังงานปีหนึ่งประมาณแปดแสนล้านบาท ขณะที่เราส่งออกพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่า ข้าว มัน อ้อย ไม่กี่แสนล้าน เทียบกับการนำเข้าพลังงานไม่ได้เลย การนำเอทานนอลไปทดแทน MTBE หรือทดแทนน้ำมันในเบนซิน ๙๕ และ ๙๑ ได้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับต้องใช้เอทานอลประมาณวันละสองล้านกว่าลิตร ซึ่งทำให้รัฐเสียรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตไปปีละสามพันล้านบาท แต่ถ้ามองในทางกลับกันการใช้เอทานอลทดแทน MTBE จะฃ่วยให้เราลดการนำเข้าไปหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาทต่อปี เท่ากับมีเงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท...

ทุกวันนี้เรามีเอทานอลที่ค้าขายกันอยู่ประมาณห้าแสนกว่าลิตรต่อวัน สิ้นปีนี้โรงงานผลิตเอทานอลที่กำลังจะเปิดคาดว่าจะผลิตเอทานอลได้เก้าแสนถึง หมื่นล้านลิตรต่อวัน ปีหน้าเราต้องการเอทานอลประมาณแปดแสนลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่าการผลิตและความต้องการใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่ภาครัฐกำลังทำอยู่ตอนนี้ก็คือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหากโรงงานที่ผลิตเอทานอลเกิดปิดโรงงาน หรือมีเหตุขัดข้องผลิตเอทานอลไม่ได้ตามจำนวนที่ต้องใช้ รัฐบาลก็เลยบอกว่าจะนำเข้าสัก ๓๐ ล้านลิตร เก็บไว้เป็นสต๊อกในยามฉุกเฉิน คือในกณฃรณั้เกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วไม่มีซัปพลายเพียงพอเข้ามาในตลาด ก็สามารถใช้เอทานอลที่เก็บเอาไว้มาใช้ได้...

ปัจจุบันประเทศไทยเติมเอทานอลแทนน้ำมันเบนซิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างเช่นบราซิลใช้เอทานอลผสมน้ำมันเบนซินในอัตราส่วนที่ มากกว่านี้...

ทุกวันนี้มีโรงงานมาขออนุญาตกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดโรงงานเอทานอล ๓๐ แห่ง ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตได้ถึงประมาณวันละ ๕-๖ ล้านลิตร ในขณะที่เราใช้แค่วันละ ๒ ล้านลิตร ที่เหลืออีก ๓ ล้านลิตรจะเอาไปไว้ที่ไหน การจะส่งออกอาจไม่ง่าย เพราะบราซิลก็ผลิต รัฐอาจต้องมองต่อไปเหมือนในต่างประเทศซึ่งเขามี E20, E25, E85, E100 (คือใส่เอทานอลแทนน้ำมัน ๒๐, ๒๕, ๘๕, ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ)...

ประเทศไทยจึงไม่น่าจะหยุดที่ E10 อย่าง E100 มีคนมาคุยกับผมว่า ทำไมเราต้องทำแอลกอฮอล์ ๙๙.๕ ด้วย เพราะจาก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ไปเป็น ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์นี่ เอาน้ำออกอีก ๕ เปอร์เซ็นต์ มันใช้เงินอีกเยอะมากเลย เลยมีคำถามว่า ทำไมเราไม่ทำเป็น E100 เหมือนในบราซิล ในบราซิล E100 ที่เขาขาย เขาเรียกแอลกอฮอล์ครับ ความเข้มขนไม่ใช่ ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ แต่แค่ ๙๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เขาอนุญาตให้มีน้ำได้อีก ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีปัญหากับการใช้งาน มันก็เลยเกิดเป็นความคิดขึ้นมาว่า ถ้าเรามี E100 เกิดขึ้น เรามีแอลกอฮอล์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ก็พอนะ ไม่ต้องไปถึง ๙๙.๕ นะ เพราะไอ้ ๕ เปอร์เซ็นต์หลังนี่ ระบบแยกน้ำออกนี่มันแพงเหลือเกิน"

ไบโอดีเซล

ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการ วิจัยและพัฒนาทดลองการนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวน้ำมันปาล์มล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ เป็นผลให้เกษตรกรเดือดร้อน

ปัจจุบันโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว จากห้องเครื่องสำนักพระราชวัง มาผลิตด้วยกระบวนการเอทิลเอสเทอริฟิเคชั่น (Ethyl Esterification) โดยใช้เอทานอลจากหอกลั่นในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สามารถผลิตได้วันละ ๑,๐๐๐ ลิตร และยังได้ผลิตภัณฑ์ข้างเคียงคือกลีเซอรีน ซึ่งนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเรื่องอื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป

วัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลนอกจากปาล์มแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาอธิบายว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นก็นำมาใช้ได้เช่นกัน

"น้ำมันพืชทุกอย่างใช้ได้อยู่แล้ว เคยลองน้ำมันพืช ๕-๖ ตัว กับเครื่องยนต์ประเภทความเร็วต่ำ (low-speed engine) เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอำไร ขณะนี้ใช้ปาล์มน้ำมันมากที่สุด เนื่องจากเป็นอาหารด้วย และมีสำรองประมาณ ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ในสภาพปัจจุบัน ถามว่าเพิ่มได้ไหม มีข้อแม้ว่าถ้าเพิ่มต้องไม่ไปถางป่าใช่ไหม ถ้าไม่ถางป่าก็แปลว่าต้องไปปลูกแทนพืชอื่น ช่วงหนึ่งบอกราคายางไม่ดี ก็เสนอทดแทนด้วยสวนปาล์ม แต่ ๔-๕ ปีมานี้ อุตสาหกรรมรถยนต์กับความต้องการรถยนต์ในจีนมหาศาล จีนซื้อยางไม่จำกัด ราคายางก็เลยขึ้น ก็ไม่มีใครเปลี่ยนมาปลูกปาล์ม แม้กระทั่งทางภาคตะวันออก มีเพื่อปลูกเงาะกับทุเรียนยังบอกว่าจะโค่นต้นเงาะไปปลูกยางแทน เพราะมีดินกับน้ำคล้ายกัน ผมเลยห่วงว่าพื้นที่ที่เหมาะสมจะปลูกน้ำมันปาล์มมีพอหรือเปล่า เคยมีโครงการจะปลูกรอบๆ แถวทะเลสาบสงขลา ทางสงขลาไม่ยอม เขากลัวน้ำเสียลงทะเลสาบ มีนมีหลายเรื่องต้องดู...

สบู่ดำเป็นตัวเลือกที่ดี แต่จากโครงการที่ให้ไปทำวิจัยสบู่ดำดีที่สุดของบ้านเรา มันจะได้ประมาณพันกิโลกรัมต่อไร่ ความคุ้มค่ายังไม่ดีพอ เพราะภาระอยู่ที่การพพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำ ที่น่าสนใจคือ สบู่ดำไม่ใช่อาหาร ตัวใบและต้นมันมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรเนื่องจากมันไม่เป็นอาหาร มันน่าจะตัดต่อพันธุกรรมเพื่อขยายพันธุ์ได้ ถ้าบอกจะไปตัดต่อพันธุกรรมกับน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมคงไม่ยอม เพราะจะมีปัญหาเรื่องส่งออกไปต่างประเทศ โดนเฉพาะประเทศที่เคร่งศาสนา เขาถือว่ามนุษย์ไม่มีสิทธิ์ไปสร้างชีวิต แต่สบู่ดำไม่ใช่อาหาร มันก็น่าจะเลี่ยงได้"

พลังงานทางเลือกอื่นๆ

นอกเหนือจากเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลและไบโอดีเซลแล้ว ก็ยังมีพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาเสนอความคิดเห็นว่า

"ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่นำพลังงานลมมาใช้อย่างจริงจัง มีแต่เป็นแบบทดลองของ กฟผ.ที่แหลมพรหมเทพ แต่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยไม่เหมือนในยุโรปจะใหญ่มาก อย่างที่เยอรมนี ชาวนาสามารถกู้เงินแบงก์มาตั้งกังหันลม แล้วขายไฟฟ้ากลับไป เขาทำนา ไม่ได้เสียอะไร...

ในอดีตเราวัดลมที่ ๑๐ เมตร เราก็บอกว่าพลังลมของเมืองไทยศักยภาพต่ำ ในเวลานั้นการติดกังหันลมต้องการลมประมาณ ๕ เมตรต่อวินาที แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีดีขึ้น ลม ๓ เมตรต่อวินาทีก็ทำงานได้แล้ว ซึ่งหากวัดพลังงานลมในระดับ ๔๐ เมตร ลมก็จะแรงขึ้น หรือตามชายทะเลบนเกาะ ลมในระดับ ๔๐ เมตร ๑๐๐ เมตรน่าจะมีความเป็นไปได้ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยกันอยู่ว่าที่ไหนเหมาะสมจะทำกังหันลมไปติดแล้วสามารถ ผลิตไฟฟ้าได้จริง เพราะสองฝั่งทะเลทั้งตะวันตกและตะวันออกรวมเป็นระยะทางเกือบสองพันกิโลเมตร เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมาก...

ในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่ายังไม่คุ้มค่าถ้ามีสายไฟเข้าไปถึงแล้ว เพราะเทคโนโลยีในขณะนี้ยังใช้ซิลิกอนในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งยังไม่ได้ผลดีนักเมื่อเทียบกับการลงทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีศักยภาพ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรในการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยกันอยู่"

ดร.อนุสรณ์เสริมว่า

"ผมมองว่าประเทศเราเป็นประเทศร้อน แสงอาทิตย์เยอะมาก การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มันเป็นต้นทุนที่แพงมากเมื่อเทียบกับอย่างอื่น แต่จริงๆ เราก็ไม่ยอมแพ้ ผมมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี อะไรมากมาย ขอให้ทำแล้วสามารถนำไปใช้ได้ ก็น่าจะทำตรงนั้น"

"
การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียง
ทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร
ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้
มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน
กับหาพลังงานทดแทน
"

อนาคตของการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางใด ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดามีความเห็นว่า "การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร ใช้เมื่อไหร่ ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้ มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน กับหาพลังงานทดแทน"

"
พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการ
ต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอล
ไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่
ก็คือ ทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรม
ในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้
ในทางปฏิบัติและยั่งยืน จะต้องผสมผสานกัน
หลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการ
พัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทย
ก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศ
ได้อย่างยั่งยืนละยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
"

ขณะที่ ดร.อนุสรณ์สรุปว่า

"พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอล ไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่ก็คือทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและยั่งยืนจะต้องผสมผสานกันหลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศได้อย่าง ยั่งยืนและยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้"

เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยคุณเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน และดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักงานแผนกลยุทธ์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อ "การพัฒนาพลังงานทดแทน" ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้

แนวพระราชดำริในด้านการพัฒนาพลังงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวพระราชดำริซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์ สายพระเนตรอันยาวไกล ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับว่าช่วยให้การพัฒนาพลังงานทดแทนโดยเฉพาะ แก๊สโซฮอลล์และไบโอดีเซลในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์วิกฤติพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันคุณเมตตา บันเทิงสุข อธิบายเพิ่มเติมว่า


วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพระราชดำริ การนำพลังงานทดแทนไปใช้ในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส

ความเป็นมาและการดำเนินงานของโครงการฯ

ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนราษฎรบริเวณบ้านปาดังยอ หมู่ที่ 3 ตำบล มูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2517 ได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ประกอบอาชีพทางการ เกษตรในบริเวณท้องที่ตำบลมูโนะ ตำบลปูโย อำเภอสุไหงโก-ลก แระตำบลโฆษิต ตำบลนานาค ตำบลพร่อน ตำบลเกาะสะท้อน ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มชายฝั่งแม่น้ำโก-ลก และชายพรุโต๊ะแดง เมื่อถึงฤดูน้ำแหลก น้ำในแม่น้ำโก-ลกจะไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมไร่นาของราษฎร และน้ำชายพรุโต๊ะแดงจะมีระดับสูงขึ้นจนทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูก เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้พิจารณาก่อสร้างโครงการชลประ ทานมูโนะขึ้น

กิจกรรมหลักในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อเริ่มก่อสร้างโครงการชลประทานมูโนะ โดยการขุดคลองมูโนะเพื่อรับน้ำดีจากแม่น้ำโก-ลก และก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อระบบต่างๆ ที่ก่อนสร้างไว้เริ่มได้ผลตามวัตถุประสงค์แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ก่อสร้างระบบชลประทานในแปลงนาในรูปแบบของเกษตร ผสมผสาน เพื่อเป็นแปลงตัวอย่างนำร่องให้เกษตรกรรม ซึ่งได้พิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณบ้านมูโนะ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก เพราะเป็นจุดที่อยู่ต้นคลองมูโนะ ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ

แต่การสูบน้ำตามพระราชดำริเน้นการส่งน้ำโดยวิธีสูบน้ำ เพราะเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดในคลองระบายน้ำมูโนะ การส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้นการส่งน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูกจะใช้ระบบสูบน้ำแล้วกระจายสู่พื้นที่ เพาะปลูก โดยคูส่งน้ำลาดคอนกรีตสายต่างๆ

ระบบชลประทานที่มีอยู่เดิมของโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะฯ นั้น เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โดยใช้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาด 18.5 กิโลวัตต์ มีอัตราสูบน้ำ 900 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง สูบน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่ชลประทาน 900 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 500 ไร่ พื้นที่ยาง 200 ไร่ สวนผลไม้ 40 ไร่ แปลงพืชไร่ 160 ไร่ ผ่านระบบส่งน้ำที่ประกอบด้วยคูส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย และคูส่งน้ำสายซอย 9 สาย รวมระยะทาง 9,335 เมตร ให้กับเกษตรกรผู้รับประโยชน์ 2 หมู่บ้านในตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก ประมาณ 200 ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีปัญหาจากระบบสูบน้ำเดิมนี้คือ

  • ปัญหาด้านภาระค่ากระแสไฟฟ้า โดยเฉลี่ยในช่วงฤดูกาล (กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม) ค่ากระแสไฟฟ้าประมาณ 4,000-8,000 บาท/เดือน และหากมีการทำนาปรังด้วยนั้น ภาระค่ากระแสไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 8,000-15,000 บาท/เดือน
  • เครื่องสูบน้ำมีประสิทธิภาพต่ำลง เนื่องจากมีอายุใช้งานมานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ส่งผลให้เมื่อเกิดภาวะแล้งจัดและระดับน้ำลดลงต่ำกว่าระดับของเครื่องสูบน้ำ จะทำให้การสูบน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชไร่พืชสวน ไม่ได้ผลตามสมควรก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก และเป็นสาเหตุให้เกษตรกรไม่มั่นใจในการทำเกษตรในปีต่อๆ ไป

ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการเกษตรผสมผสานมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกรมชลประทาน (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

จากการสำรวจการใช้พลังงานในกิจกรรมสูบน้ำของกรมชลประทาน ทั้งเพื่อการเกษตร การช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน การป้องกันน้ำเค็มในฤดูแล้ง และการส่งน้ำช่วยเหลือในบริเวณพื้นที่ เพาะปลูกของจังหวัดนราธิวาส พบว่า มีหลายกิจกรรมที่มีภาระค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำสูง จึงได้นำระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าด้วยเซลล์แลงอาทิตย์มาสาธิตที่งานสูบน้ำของ โครงการเกษตรผสมผสานมูโนะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูโนะ สำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทาน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าในการสูบน้ำ และสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันหรือถ่านหินซึ่งทำลาย สิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ถึงเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกของความร่วมมือกันประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้นด้วย

การนำระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้เสริมกับระบบเดิม โดยระบบใหม่นี้ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 75 วัตต์ 36 แผง รวมกำลังไฟฟ้าเอาต์พุต 2,700 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสตรง (Centrifugal) ขนาด 1.5 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง และท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ระยะทาง 30 เมตร จำนวน 1 ชุด โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานในเวลากลางวันด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำได้วันละ 170 ลูกบาศก์เมตร เข้าท่อน้ำชลประทานที่ระดับยกน้ำ 6.4 เมตร และส่งไปยังคลองส่งน้ำเดิมของโครงการฯ

ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นี้จะให้ประโยชน์ในการใช้สอย ได้แก่

  • ใช่ร่วมกับระบบสูบน้ำเดิมในช่วงเวลาที่ต้องใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกมาก จึงช่วยลดปริมาณการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าลง เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าและค่าบำรุงรักษา
  • ในช่วงที่พืชต้องการน้ำน้อย สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลุก โดยจัดพื้นที่การส่งน้ำเป็นเขตต่างๆ ตามความเหมาะสมได้
  • ในช่วงแล้งจัดที่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสูบน้ำเดิม สามารถใช้ระบบใหม่นี้สูบน้ำช่วยเหลือได้
  • เมื่อเกษตรกรมีความเชื่อมั่นในเรื่องระบบสูบน้ำใหม่แล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ได้

ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

โครงการพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2549 กระทรวงพลังงานร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในหัวข้อ "เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน" ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นวิทยากร ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

"พลังงานเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องใกล้ตัว เพราะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ลองสังเกตดูสิครับ ทุกวันนี้เราเข้านอนด้วยสภาพจิตใจไม่ค่อยปกติ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อตื่นขึ้นมาค่าน้ำมันจะขึ้นไปอีกหรือเปล่า พรุ่งนี้ลิตรละเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้ เมื่อเริ่มเข้าทำงานราชการนั้น น้ำมันลิตรละ 3-4 บาทเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าหลังเกษียณมาหกเจ็ดปี ราคาน้ำมันจะขึ้นมา 4 ลิตร 100 บาทแล้ว.....

แต่เดิมหลักชาวพุทธเราเคยกล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตคือปัจจัยสี่ แต่พอมาเหลียวดูทุกวันนี้ ไม่ว่าการก่อสร้างบ้านอยู่อาศัย อาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ล้วนแต่ใช้พลังงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เราบริโภคก็ต้องอาศัยพลังงานในการปรุงแต่งทำ ให้เราได้สิ่งที่เป็นความสะดวกสบายต่างๆ....

ธรรมชาติให้เราอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็มาสร้างบ้านหลบเสีย ปิดม่าน เปิดไฟฟ้า เปิดแอร์ ตั้งสติสักนิดเถอะครับ ผมคิดว่าเราใช้ชีวิตอย่างสิ้นเปลืองมากๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาให้เลือก ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตบ้าง ไม่ใช่ให้ไปปลูกถั่ว ปลูกงาอย่างที่หลายคนเข้าใจ ไม่ใช่รัดเข็มขัดจนกลับไปเป็นคนยากจน พระองค์ท่านเพียงอยากให้เรามีชีวิตโดยใช้ปัญญา อย่าให้กิเลสตัณหาเป็นตัวนำอยู่ตลอดเวลาเพระกิเลสตัณหานั้นผลักดันให้เรามี ความต้องการมากเกินเหตุที่ควรจะเป็นในชีวิตจริงๆ เสียด้วยซ้ำ"

"
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ
|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีหลักสำคัญ
3 ประการ คือ ความมีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันตนเอง
"

ความหมายของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีหลัก สำคัญ 3 ประการ คือ ความมีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันตนเอง ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ขยายความว่า

"คำแรก พระองค์ท่านรับสั่งว่า ทำอะไรด้วยเหตุผล อยู่ไปตามกระแส ตามอารมณ์ ไม่ใช่โลกของโลกาภิวัตน์อย่างนี้ ก็ไหลตามเขาไป โดยไม่ดูสภาพตัวเอง ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนการพัฒนาที่แล้วๆ มา....

คำว่ามีเหตุผลนี่ พระเจ้าอยู่หัวทรงตีความลึกซึ้ง พระองค์ท่านรับสั่งว่าโปรดเดินไปโรงเรียน พอเก็บหอมรอมริบได้ก็ซื้อจักยานขี่ไป รถคันแรกที่ทรงซื้อก็รถเก่าๆ ทรงซ่อมด้วยพระองค์เอง ทรงทำสีด้วยพระองค์เอง ทรงรู้จักค่าของเงิน อะไรที่ถูกและเรียบง่าย มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับชีวิตนี่คือหลักการของพระองค์ท่าน ทรงทำให้ดูตลอด 60 ปี จนกระทั่งทุกวันนี้ ใจเรานี่ไม่ได้ยึดติดกับพระเจ้าอยู่หัวจริงเลย ชื่นชมเหมือนเรากราบไหว้พระพุทธรูป

ลองไปดูภาพเก่าๆสิ ให้ผ่านมา 10 ปี 20 ปี จะสังเกตอย่างหนึ่งว่า ฉลองพระองค์ใช้พระองค์เดิม สองฉลองพระบาทคู่หนึ่งไม่กี่ร้อย ไม่เห็นต้องเอาแฟชั่นอะไรเลย ฉลองพระบาทใบ ไม่รู้ราชาศัพท์รองเท้าผ้าใบว่าอย่างไร ผมก็เรียกฉลองพระบาทใบ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รุ่นเก่า พระองค์ท่านทรงพิจารณาเรื่องการใช้งาน คือ มันทำหน้าที่ได้ พระองค์ท่านก็ทรงใช้ พระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ด้วยความประหยัด ทรงใช้อย่างมีสติ คือประโยชน์มีแค่นี้ ใช้แค่นี้ ดินสอนี่ทรงใช้จนกระทั่งกุดเลย...

คำที่สอง ที่พระองค์ท่านรับสั่งไว้ คือ ทำอย่างไรพอประมาณ แม้แต่สุภาษิตไทยยังมีเลยครับ ประมาณตน คือ อย่าทำอะไรเกินตัว ผมอยากขยายความไปว่าก่อนจะทำอะไรนั้น ตรวจสอบศักยภาพของเราเสียก่อนว่าทุนของเราอยู่ตรงไหนอย่าไปตามกระแส ที่แล้วมาเราพัฒนาโดยไม่ได้ดูศักยภาพ เราอาศัยศักยภาพของคนอื่นมาพัฒนาประเทศของเราทั้งนั้น...

คำที่สาม คือ ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกัน ตราบใดที่พลังงานยังต้องพึ่งการนำเข้าในจำนวนที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งทำ อย่างไรจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันตัวนี้ให้ได้ กระทบอะไรก็ให้กระทบแต่พอสมควร เจ็บปวดนิดหน่อยดีกว่าล้มตาย เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ปีหน้าปีต่อไปจะเป็นอย่างไร ยิ่งโลกไม่สงบอยู่อย่างนี้ เราจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร ภูมิคุ้มกันเกือบไม่มีเลย เพราะฉะนั้นคำว่าภูมิคุ้มกันเป็นคำที่ต้องควรคำนึง บริษัท ห้างร้านองค์กรทุกองค์กรนั้นใช้คำว่า Risk Management หรือการบริหารความเสี่ยง...

ความจริงพระองค์ท่านทรงนำโลกอยู่ แต่ทรงใช้คำไทยโบราณ ไม่มีในคำศัพท์ภาษาฝรั่ง แต่มา ณ วันนี้ ฝรั่งก็ตามท่าน Risk Management นั่นคือ ภูมิคุ้มกันนั่นเอง ระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยง คนไทยเราไม่มีใครพยายามแปลไปรอฝรั่งมาพูด พอพูด พอพูดทีก็โอ้โห...ตื่นเต้นกันทั้งบ้านทั้งเมือง พยายามแปลเป็นภาษาไทย อย่าง Good Governance นะ แปลกันใหญ่ว่า ธรรมาภิบาล พระเจ้าอยู่หัวเคยรับสั่งเมื่อ 60 ปีมาแล้วว่า 'เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม' คำว่า ธรรมสั้นๆ คือทำดี ถูกต้อง แต่ไม่มีใครสนใจ พระปฐมบรมราชโองการ 'เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม' ...

เมื่อกลางวัน ถ้าใครรับประทานอาหารมากเกินไป คุณรู้สึกอึดอัดไหม เมื่อกลางวันนี้ผมรีบมา กลัวไม่ทันรับประทานได้นิดเดียว เลยเป็นเด็กน้อยผู้หิวโหย หิวเกินไปก็ไม่ดี เหมือนรับสั่งที่เรียบง่ายของพระองค์ท่านว่า 'ให้มันพอเพียง' ไม่ให้ขาดไม่ให้เกิน เกินไปก็ทรมาน ให้มันพอดีเท่านั้น ถ้าบริโภคมากเกินไปจะเกิดอาการที่เรียกว่า 'จมไม่ลง' สำนวนไทยที่นี่หมด แต่เด็กๆ รุ่นใหม่ไม่ค่อยใช้ ไปใช้สุภาษิตแปล แต่ของไทยลืมหมด"

แนวพระราชดำริในด้านการพัฒนาพลังงาน

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานมา ตั้งแต่คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นแนวพระราชดำริที่ทรงมองอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทุกคน

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยเรื่อง 'น้ำ' มาแต่แรกเริ่ม แม้กระทั่งเมื่อตอนไปเข้าเฝ้าๆ เมื่อไม่นานมานี้ พระองค์ก็ทรงรับสั่งถึงเขื่อนภูมิพล ซึ่งได้ประโยชน์หลากหลาย น้ำก็ได้ใช้ในการเกษตร ระหว่างน้ำผ่านเขื่อนลงไปก็นำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วย น่ามหัศจรรย์ใจอย่างยิ่งที่มีกระแสต่อต้านไม่ให้มีการใช้เขื่อนเพื่อผลิต ไฟฟ้า นักอนุรักษ์นี่ขอให้เป็นนักอนุรักษ์จริงๆ อย่าเป็นนัก 'อ' เฉยๆ ใครทำอะไรก็จะค้านหมด อย่างที่เคยคุยกับท่านผู้อำนวยการเขื่อนป่าสักฯว่า...

"
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการ
พัฒนาพลังงานมาตั้งแต่คนทั่วไปยังไม่ตระหนัก
ถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ยิ่งไปกว่านั้นยัง
เป็นแนวพระราชดำริที่ทรงมองอย่างรอบด้าน
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทุกคน
"

กว่าจะสร้างได้เลือดตาแทบกระเด็น สามารถเก็บกักน้ำได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ไม่ยอมให้ผลิตกระแสไฟฟ้า จะให้ใช้เพื่อการเกษตรอย่างเดียว แล้วน้ำที่ผ่านออกมาทุกวัน มันเป็นพลังงานที่ปล่อยให้สูญเปล่า จะติดตั้งเครื่องไฟฟ้าจะเสียเงินเพิ่มไปอีกสักเท่าไหร่ น้ำก็ต้องผ่านออกมามาอยู่ดี จะไปทางไหนก็ทำได้ทั้งนั้น มีเขื่อนอีกหลายเขื่อนที่สามารถทำไฟฟ้าได้ ไฟฟ้าเล็กไฟฟ้าน้อยก็สร้างเถอะครับ เพราะมันใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หลายฝ่ายก็ออกมาบอกว่าไม่ยอมให้สร้าง...

สายพระเนตรของพระองค์ท่านคือ สายตาที่เต็มไปด้วยปัญญา พยายามเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว พระองค์ท่านรับสั่งว่า ดูรอบๆ สิ เหลียวไปดูภูมิประเทศสิ เขาออกแบบไว้เรียบร้อยหมดแล้ว บริเวณลุ่มนั้น ฝนตกลงมาน้ำก็จะขังน้ำอยู่พอน้ำลดก็จะไหลลงไปที่ต่างๆ แตกซ่านเซ็นเป็นลำธารเล็กลำธารน้อย รวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ ไหลลงมหาสมุทร ออกทะเลไป พอน้ำเอ่อขึ้นมาอีก ก็ไปรดน้ำต้นไม้ที่อยู่ในป่าในดง ต้นไม้แตกใบออกมา ร่วงหล่นย่อยสลายเป็นปุ๋ย พอฝนตกลงมาชะล้างเอาหน้าดิน ปุ๋ยต่างๆ ก็ส่งมาตามลำธาร ส่งมาตามแม่น้ำ ไหลมากองที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เราปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงดูประเทศทั้งประเทศ ระบบธรรมชาติออกแบบไว้เรียบร้อยหมดเลย แต่มาโดนมนุษย์ทำลายหมด แย่งชิงที่กันปล่อยให้ตื้นเขิน นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ลองสังเกตให้ดีๆ วงจรชีวิตถูกออกแบบเอาไว้เรียบร้อยแล้ว...

พระองค์ท่านเสด็จไปทางเหนือ ซึ่งแห้งแล้ง มีการตัดไม้ทำลายป่า ฝนตกทีก็ไหลลงมาหมด พระองค์ท่านทรงคิดว่าตรงนั้นทำไฟฟ้าได้ไหม ไหลลงไปช่องเล็กๆ ทำโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก พยายามบังคับน้ำให้ผ่านท่อเล็กๆ แล้วผลิตป้อนใช้ในบริเวณนั้น พยายามปรับตามสภาพแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์ พอเสด็จพระราชดำเนินไปอีก ก็เจอตะบันน้ำซึ่งชาวบ้านใช้กันมานานแล้ว ใช้พลังน้ำในตัวเอง ไม่มีพลังงานไปสร้างพลังงาน คนสมัยใหม่นำพลังงานไปใช้เพื่อให้เกิดพลังงาน แต่ที่นั่นใช้พลังน้ำในตัวเอง ตะบันน้ำนั้น พลังน้ำจะกระแทกเครื่องมือให้หมุน ปรากฏว่าสามารถยกน้ำขึ้นไปได้ 5-10 เมตร แล้วไหลผ่านท่อชลประทานไป กังหันน้ำชัยพัฒนาก็ได้ความคิดจาก 'หลุก' นี่เอง ชาวบ้านสร้างเป็นหลุมไว้กลางลำธาร พอน้ำในลำธารไหลผ่าน หลุกมันก็ตักขึ้นมาเทใส่ท่อ ส่งน้ำไปถึงหมู่บ้าน แล้วมันก็หมุนโดยใช้พลังงานในกระแสน้ำที่มีอยู่แล้วนั่นเอง นำของเรียบง่ายที่อยู่รอบตัวมาใช้ กระแสน้ำอยู่รอบตัว แต่เอาปัญญาเข้าไปใส่ ก็สามารถสนองตอบความต้องการของชีวิตได้"

โครงการพระราชดำริอันเกี่ยวเนื่องกับกิจการพลังงาน

ไม่พียงการพระราชทานแนวพระราชดำริเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระราชทานโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดได้ กลายเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาพลังงานในปัจจุบัน

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นทรงสนพระทัยเรื่องนี้อย่างมาก ถ้าใครเคยได้เข้าไปที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระองค์ท่านทรงทำให้สิ่งของเหลือนำมาใช้ได้ มีโรงสี มีแกลบ ก็นำมาทำเป็นถ่าน มีตัวประสานอัดเป็นแท่งกลับไปใช้เป็นพลังงานได้ ทรงเลี้ยงวัว มีมูลวัวออกมาก็ทำเป็นก๊าซชีวภาพ เข้าไปเดินเครื่องในโรงงานผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกือบจะเรียกได้ว่าช่วยเหลือตัวเองพร้อมกันไปหมด ทำอย่างนี้เรียกว่า ใช้ปัญญานำเพราะไม่มีของเหลือออกไปเลย

"
ไม่เพียงการพระราชทานแนวพระราชดำริเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระราชทาน
โครงการตัวอย่าง ผลการศึกษาวิจัยมากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการส่วนพระองค์
สวนจิตรลดาได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญ
อย่างยิ่งของการพัฒนาพลังงานในปัจจุบัน
"

ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ สกลนคร พระท่านเก่ง ใช้ปัญญานำ ตอนนั้นเสด็จพระราชดำเนินผ่านถานพระเด็กรุ่นใหม่คงไม่รู้จักถานพระ ไม่ใช่ฐานรองรับพระพุทธรูป แต่หมายถึงห้องน้ำ ส้วม ศัพท์โบราณเรียกว่าถาน ถานพระเรียงกันเป็นแถวพระท่านก็ให้ไปเก็บรวบรวมมาใส่เพื่อต่อท่อมาลงในหลุม ก๊าซชีวภาพ แล้วก็ต่อท่อเข้าโรงครัว พระองค์ท่านเสด็จฯ มาถึงก็รับสั่งถามเจ้าอาวาสว่า.. "พระคุณเจ้า...ถานพระที่ใช้ถ่ายของเสียที่ถ่ายออกมาเป็นธรรมะหรือเป็นอธรรม" เจ้าอาวาสก็ตอบว่าเป็นอธรรม พระองค์ท่าก็เสด็จพระราชดำเนินไปตามท่อ ไปถึงบ่อชีวภาพที่กำลังเดือดปุดๆ ตรัสถาม "พระคุณเจ้า ตรงนี้เป็นธรรมะหรืออธรรม" พระคุณเจ้าก็กราบทูลว่า ยังเป็นอธรรมอยู่เพราะเป็นของบูด ของเสีย ของเน่า เมื่อพระองค์ท่านเสร็จพระราชดำเนินต่อไปตามท่อนั้น เข้าไปในครัว ปรากฏว่ากำลังต้มน้ำอยู่ เพื่อจะชงชาถวายพระองค์ท่านก็ตรัสถามอีก... "พระคุณเจ้าตอนนี้เป็นอธรรมหรือธรรมะ" พระคุณเจ้ากราบทูลว่าเป็นธรรมะแล้ว เพราะว่าเกิดประโยชน์ขึ้นแล้ว...

ธรรมะสอนอะไร เรื่องนี้สอนให้คนเราใช้ชีวิตครบวงจร ต้องใช้ให้ครบประโยชน์จึงเกิดขึ้นได้ บริโภคเข้าไป ถ่ายออกมา มีกระบวนการแปรสภาพออกมาเป็นก๊าซนำมาใช้ได้อีก มูลยังอยู่ในบ่อนั้น เมื่อล้างบ่อชีวภาพ มันอาจย่อยสลายไปหมด ก็นำไปใส่เป็นปุ๋ยที่ต้นไม้ ต้นไม้นั้นก็เกิดงอกงาม เป็นพลังงานให้ต้นไม้ ต้นไม้แตกกิ่งก้านสาขา แตกใบออกมาร่วงหล่น ไม้บางอันก็ถูกนำไปเผาเป็นถ่านต่อกันไปไม่รู้จบ เราเรียกกันอย่างง่ายๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นเอง...

การทำอะไรให้ยั่งยืนคือการทำให้ครบวงจร ทำอะไรที่เมื่อบริโภคแล้วได้ชดเชยกลับมา เราก็จะมีใช้ไม่รู้จบ นี่คือความหมายสั้นๆ ของคำว่าพัฒนาอย่างยั่งยืน...

พระองค์ท่านรับสั่งว่า "น้ำมันดินหมดแล้ว" คำว่าปิโตรเลียมทรงใช้คำโบราณว่าน้ำมันดิน หมายความว่าขุดลงไปถึงดิน นำมากลั่นใช้ พอน้ำมันดินจะหมดแล้ว จริงๆ แล้วยังมีแหล่งพลังงานอื่นอีกมากมาย แสงแดด สายลม จากธรรมชาติทั้งหมด...

ตอนนี้มาบอกให้ปลูกป่าทั่วประเทศเพื่อทำไบโอดีเซล คิดวันนี้ทำวันนี้ อีก 5 ปีเป็นอย่างเร็วถึงจะได้ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ใช้แทนน้ำมันดีเซล มีสิทธิบัตรเตรียมการไว้ก่อนแล้ว เอทานอล พระองค์ท่านก็ทรงผลักดันมาก่อน จำได้ว่าวันหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน รับสั่งเรียกผมไปสั่งว่า "ไปดูซิ น้ำมันปาล์มนี่ทำดีเซลได้ไหม" จนกระทั้งเวลานี้มีปั๊มแล้ว ถึงจะเป็นโครงการทดลองแต่ก็เติมได้ มีปั๊มขึ้นมาถึง 2 ปั๊มในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองที่จังหวัดนราธิวาส และที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์...

ถ้าใครติดตามข่าวจะเห็นว่าเมื่อ 2-3 วันมานี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงไปเติมให้เอง รถเมล์วิ่งอยู่ที่หาดใหญ่มาเติมพระองค์ท่านทรงเติมให้เองเลย ได้ข่าวว่ากลับบ้าน สูบน้ำมันออกแล้วตั้งบนโต๊ะบูชา ไม่กล้าใช้ สงสัยใส่เป็นขวดเล็กขวดน้อยแจกเป็นเครื่องรางของขลังไปแล้ว ตอนที่เริ่มวิจัยผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน เพราะตอนนั้นดีเซลลิตรละไม่กี่บาทพระองค์ท่านรับสั่งว่าทำไปเถอะ แล้วไม่ต้องประกาศให้คนค้านว่าทำแล้วไม่คุ้ม พระองค์ท่านว่าทำไปเถิด แล้วเดี๋ยววันหนึ่งจะรู้เอง แล้ววันนี้ก็มาถึงอย่างรวดเร็ว

น้ำมันแพงทุกวันนี้ แม้กระทั้งน้ำมันพืชก็แพง ต้องยอมรับว่ามีระบบภาษีเข้ามา โครงการพระราชดำริก็เลยมุ่งไปแก้ปัญหาที่คนก่อน ให้เกษตรกรเล็กๆ รวมกลุ่มกัน พื้นที่ไหนเหมาะปลูกปาล์มได้ก็ปลูกปาล์ม พื้นที่ไหนปลูกสบู่ดำได้ก็ปลูกสบู่ดำ มีปลูกพืชเยอะแยะไปหมด แถวชุมพรใช้น้ำมันมะพร้าวกันมาตั้งนานแล้ว แต่เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีเข้าไปช่วยนานๆ ทีก็ต้องเอาเครื่องมาล้างที เพราะมันมีอะไรเข้าไปเกาะเครื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าไป เพื่อให้แต่ละกลุ่มเกษตรกรช่วยตัวเองให้ได้ก่อน สุดท้ายจะช่วยลดการนำเข้าได้ดี"

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล สรุปทิ้งท้ายถึงวิกฤติพลังงานในปัจจุบัน ซึ่งหากดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงก็จะช่วยแก้ปัญหาดัง กล่าวได้ และไม่ใช่แต่เฉพาะสังคมไทยเท่านั้น ยังหมายรวมไปถึงสังคมโลกอีกด้วย

"คุณไปดูเถอะนะ ชีวิตทุกวันนี้มันยุ่ง ต้องเปิดไฟ ต้องเปิดแอร์ แล้วอยู่แค่คนเดียวสองคน ยิ่งโลกสมัยใหม่มีแค่ครอบครัวเล็กๆ เป็นครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ สังคมถึงได้บิดเบี้ยวอยู่ทุกวันนี้ สมัยก่อนนี่ตกเย็นนั่งพร้อมหน้าพร้อมตากัน ปู่ย่าตาทวด พ่อแม่ลูกหลาน นั่งกินข้าวร่วมกัน ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยไม่รู้ตัว ต่างฝ่ายก็ผ่านประสบการณ์ของตัวมาทั้งนั้น ปู่ย่าตาทวดก็เล่าให้ลูกหลานฟัง ถ่ายทอดข่าวสารให้คนแก่รับทราบ เป็นสังคมที่สมบูรณ์มากที่สุด เดี๋ยวนี้มีแต่สังคมกับพ่อแม่ ได้ยินเสียงพ่อแม่จากโทรศัพท์ กลับจากงานดึก งานสังคม ลูกไปนอนแล้ว ไม่เคยพบปะกันเลย ลองถามตัวเองสิครับว่าวันๆ หนึ่งได้เจอลูกบ้างไหม สักกี่ครั้ง กี่นาที ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่าทำไมสังคมถึงปั่นป่วนอยู่ทุกวันนี้ สังคมที่ไม่ได้ใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทางจึงเกิดทุกข์ เพราะฉะนั้นกลับมาเถอะครับ กลับมาหาความสงบ ความเรียบง่าย ชาติบ้านเมืองต้องการการรักษา และต้องรักษาด้วยปัญญา รักษาด้วยสติ รักษาด้วยความเรียบง่าย อะไรที่มันเลยเถิดไปนั้น มันสร้างความทุกข์ให้ทั้งสิ้น

ขอจบท้ายด้วยว่าโลกกำลังโกรธเรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า "เราไปรังแกธรรมชาติมากๆ เข้า เขาจึงสอนเรา" แล้วเวลานี้สอนแล้ว สอนรวดเดียวไม่กี่นาทีห้าแสนชีวิต ดินถล่มที่ฟิลิปปินส์ยังขุดไม่เจออีกพันกว่า ต้นตอทั้งหลายทั้งปวงมาจากการทำร้ายธรรมชาติ โลกเคลื่อนตัวมันก็มีสาเหตุทั้งนั้น ทดลองระเบิดปรมาณู เขาห้ามทดลองในอากาศก็ขุดหลุมลงไปทดลองในทะเล ทดลองในดิน ผลสุดท้ายโลกก็แบกรับภาระจากการกระทำของมนุษย์ เพราะฉะนั้นขอให้เอาสติกลับคืนมา เอาปัญญากลับคืนมา มาสู่โลกของความพอดี เศรษฐกิจพอเพียง...

คำว่าพอเพียงไม่ใช่ขาดแคลน ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียว แต่พอด้วยเหตุด้วยผลที่อยากแนะนำให้เราทุกคนแสวงหาคำว่าประโยชน์สุขอยู่ใน ความร่ำรวยที่ยั่งยืน อยู่ด้วยความสุขอันเป็นเป้าหมายปลายทางของชีวิต แล้วคิดว่าโลกคงจะสงบการทะเลาะเบาะแว้งในบ้านเมืองก็จะลดน้อยถอยลงไป เพราะเราอยู่บนความพอดี ผมขอจบเพียงแค่นี้ และขอให้ทุกคนมีความสุข ขอบคุณครับ"

"
คำว่าพอเพียงไม่ใช่ขาดแคลน
ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนี่ยว
แต่พอด้วยเหตุผล
"


ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

โครงการพระราชดำริ ในหลวงกับพลังน้ำ

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในหัวข้อ "ในหลวงกับน้ำ" ณ หอประชุมอาคารประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยมีพลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และคุณเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรในการเสวนาดังกล่าว ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

"
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้า-
อยู่หัวทรงสนพระทัยและทรงเชี่ยวชาญเรื่อง
น้ำมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม โครงการ
พัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้นับตั้งแต่เริ่มแรกก็เป็นการ
ดำเนินการที่ควบคู่ไปกับรัฐบาล โดยระมัดระวัง
ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานพัฒนาของรัฐบาล
"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ และครอบคลุมการพัฒนาเกือบทุกแขนง ทั้งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการทางด้านการเกษตร โครงการทางด้านพลังงาน ฯลฯ นับพันโครงการ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้น เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและทรงเชี่ยวชาญเรื่องน้ำมากเป็น พิเศษ อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้นับตั้งแต่เริ่มแรกก็เป็นการดำเนินการที่ควบ คู่ไปกับรัฐบาล โดยระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งในประเด็นนี้ พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ ได้เสนอความเห็นโดยสรุปว่า เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และเริ่มทรงงานจากโครงการขนาดเล็ก อันเป็นการช่วยเสริมช่องว่างของรัฐบาลด้วย

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ขึ้นครองราชย์ปี พ.ศ.๒๕๘๙ พระองค์ได้เสด็จฯกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทรงเปลี่ยนไปเรียนด้านการปกครองและกฎหมายแทนสาขาวิศวกรรมที่ทรงศึกษาแต่ เดิมหลังจากทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อเยี่ยมราษฎรดูแลทุกข์สุขเพื่อทราบถึงต้น เหตุแห่งปัญหา เสด็จฯไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมหาข้อเท็จจริงก่อนจะเห็นได้ว่าพระราชทานกรณียกิจในช่วงแรกของ พระองค์ยังไม่มีโครงการพระราชดำริเลย

การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จะพระราชดำเนินหรือแปรพระราชฐานไป ตามจังหวัดต่างๆ นั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวไว้ว่า พระองค์ท่านไปตั้งออฟฟิศเล็กๆ เพื่อทรงดูแลประชาชนรอบๆ ที่ประทับ อย่างไรก็ตาม พระราชกรณียกิจในช่วงเริ่มแรกนี้ พระองค์ไม่ได้ทรงสนพระทัยในเรื่องใหญ่โตมากนัก แต่ทรงมองว่า ตรงจุดไหนมีเรื่องให้พระองค์ทรงช่วย พระองค์ก็จะทรงช่วยและในระหว่างที่เสด็จฯไปเยี่ยมราษฎรทุกครั้ง ยังทรงนำหน่วยงานของสำนักคณะกรรมพัฒนาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งหน่วยงานนี้คล้ายๆ กับเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ไปในตัวด้วย ซึ่งต่อมาเราเรียกหน่วยงานนี้ว่า สำนักงาน............

ในการทรงงานนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีวิธีของพระองค์เอง ทรงทอดพระเนตร ทรงศึกษาและสอบถามจากชาวบ้าน ตรวจสอบแผนที่ เรียกเจ้าหน้าที่มาถาม แล้วจึงทรงคิดออกมาเป็นแผนงาน จากนั้นจะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดู เมื่อเห็นว่าสามารถทำโครงการพัฒนาเหล่านั้นได้ จึงทรงตัดสินพระทัยทำ สภาพัฒน์ฯ จะคอยถวายรายงานว่า โครงการพัฒนาที่จะทรงทำนั้นโครงการที่ตรงกับรัฐบาลหรือไม่ ถ้ารัฐบาลทำ จะทรงเลี่ยงมาทำเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่หากเป็นเรื่องใหญ่หรือเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก พระองค์จะทรงให้สภาพัฒน์ฯไปเสนอต่อรัฐบาล เพราะฉะนั้นแต่ละโครงการจึงไม่ซ้ำกัน เรียกได้ว่า พระองค์ทรงทำงานของพระองค์ รัฐบาลก็ทำงานของรัฐบาล แต่พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาเหล่านี้ บางครั้งก็ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นโครงการที่เสนอรัฐบาลแล้วไม่มีความคืบหน้า ซึ่งอาจเกิดจากรัฐบาลยังไม่พร้อม อย่างเช่น โครงการปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้เสนอรัฐบาลไปสามปีแล้ว ทว่ายังไม่มีการดำเนินการใดๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับไว้เป็นโครกการส่วนพระองค์

"
ในการทรงงานนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีวิธีของพระองค์เอง ทรงทอดพระเนตร
ทรงศึกษาและสอบถามจากชาวบ้าน ตรวจสอบ
แผนที่ เรียกเจ้าหน้าที่มาถาม แล้วจึงทรง
คิดออกมาเป็นแผนงาน จากนั้นจะทรงเรียก
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดู เมื่อเห็นว่าสามารถ
ทำโครงการพัฒนาเหล่านั้นได้ จึงทรง
ติดสินพระทัยทำ
"

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงระวังพระองค์เองว่า โครงการพัฒนาต่างๆ ตามพระราชดำรินั้นต้องไม่ใช่เป็นการไปแย่งงานของรัฐบาล แต่เป็นการช่วยเสริมช่องว่าง เดิมทีโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เหล่านี้ใช้งานจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ต่อมาจึงมีการจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเงินของราชการนั้นเป็นเงินงบประมาณ ซึ่งจะหมดในปลายปี เมื่อรัฐไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำงานต่างๆ มูลนิธิจึงจะเข้ามาช่วยเหลือด้วยการให้ยืมเงินไปทำงานก่อน

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นจะทรงถือหน้าที่เป็น สำคัญ ไม่ได้ถือเรื่องตำแหน่งหรือยศของคนทำงาน การทรงงานของพระองค์นั้นเปรียบได้กับเรือลำหนึ่งที่มีเรือเอกเป็นกัปตัน แต่ถ้าเรือลำนั้นใช้เครื่องยนต์ปรมาณู คนที่รู้เรื่องเครื่องยนต์อาจเป็นจ่า แต่ก็ต้องฟังเรือเอกว่าจะให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา จะหยุดหรือยิงอย่างไร เป็นการทำงานด้วยหน้าที่ พระองค์จะทรงละเอียดอ่อนเรื่องนี้ ซึ่งทำให้สามารถดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาได้อย่างราบรื่น

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามพระราชดำริ

สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสำคัญ ๆ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีโอกาสถวายงานตามพระราชดำริแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น คุณเกษม จาติกวนิช อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความรอบรู้เรื่องเขื่อน ทรงศึกษาเรื่องเขื่อนมาเป็นอย่างดี ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล คือ ทรงคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนชาวไทยโดยรวมก่อน ดังนั้น การสร้างเขื่อนแต่ละเขื่อนจึงไม่ใช่เพียงการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า เท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์ถึงเกษตรกร ชาวนา หรือเพื่อการป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย โดครงการพระราชดำริหลายโครงการสำเร็จได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เช่น โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์เรื่องการป้องกัน น้ำท่วมได้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับเขื่อนภูมิพล ทว่าผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกษตรกรจะได้รับมีมากมายมหาศาล เนื่องจากเป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการทำนาเป็นจำนวนมาก ............

นอกจากนี้ ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการย้ายชาวบ้าน ทรงกำชับว่าต้องหางบประมาณเพื่อจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านอย่างเป็นธรรม ประชาชนที่จะต่อต้าน พอรู้ว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยอมทำตามพระราชประสงค์ยกตัวอย่างเช่นการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หากให้ทางราชการเป็นผู้สร้าง เชื่อว่าอีก ๑๐๐ ปีก็อาจยังคงไม่ได้สร้าง เพราะผู้ที่ผู้อาศัยคงไม่ยอมย้ายออกแต่เมื่อเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของกโครงการ ทุกคนจึงเชื่อและรับสรองพระราชดำริ ไม่แต่เฉพาะเรื่องเขื่อนเท่านั้น เรื่องออื่นๆ ประชาชนชาวไทยก็อาศัยพระบารมีของพระองค์เช่นกัน เรียกว่าด้วยพระบารมีสามารถเปลี่ยนเรื่องใหญ่โตให้จบลงได้ในวันเดียว.....

จะขอย้อนมาเรื่องต้นกำเนิดของเขื่อนสำหรับผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เดิมทีประเทศไทยมีโรงงานผลิตไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสน ใช้ฟืนและแกลบเป็นเชื่อเพลิงในการผลิตๆไฟฟ้า เมื่อครั้งสงครามที่ข้าเปลือกขายไม่ได้ราคา ก็เคยใช้ข้าวเปลือกเหล่านี้เป็นเชื่อเพลิงผลิตไฟฟ้ามาแล้ว แต่ไฟฟ้า

"
ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการ
ย้ายชาวบ้าน ทรงกำชับว่าต้องหางบประมาณ
เพื่อจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านอย่างเป็นธรรม
ประชาชนที่จะต่อต้าน พอรู้ว่าเป็นพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยอมทำตาม
พระราชประสงค์
"

ก็ยังไม่พอใช้ ต้องดับไฟเป็นเขตๆ ทุกวัน เมื่อมีพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮีในปี พ.ศ.๒๕๐๐ จึงก่อให้เกิดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตขึ้น มีการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลหรือชื่อเดิมว่าเขื่อนยันฮี ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และแทบจะใหญ่ที่สุดในเอเชียในเวลานั้น ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์มาได้ ๑๑ ปี จึงอากเรียกได้ว่าพัฒนาการของเขื่อนผลิตๆฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีระยะเวลาที่ เท่า ๆ กับการครองราชย์ของพระองค์......

เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนที่ให้ประโยชน์ทั้งการเกษตรและการเกษตรและการ ไฟฟ้าในตอนเริ่มต้นประเมินกันว่ามีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ ๕๐ ล้านดอลลาร์ ซึ่งในขณะนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินไทยและเงินดอลลาร์สหรัฐประมาณ ๑๒ บาทต่อดอลลาร์ เมื่อคิดเป็นเงินไทยประมาณหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งค่อนข้างสูงมากในเวลานั้น มีคำถามมากมายว่าจะไปเอาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาจากไหน ในที่สุดก็ไปกู้จากธนาคารโลก ซึ่งคิดดอกเบี้ย ๕ เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา ๒๐ ปี ซึ่งหลายคนไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นการสร้างหนี้สินให้คนรุ่นลูกหลานนานถึง ๒๐ ปีแต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดก็มีการสร้างเขื่อนจนเป็นผลสำเร็จ โดยธนาคารโลกมีข้อกำหนดว่า ต้องนำเงินรายได้จากเขื่อนมาใช้คืน ไม่ใช่นำเงินงบประมาณมาใช้หนี้ ซึ่งเมื่อคำนวณรายได้จากการขายไฟฟ้าแล้ว ปรากว่าพอเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณ เขื่อนภูมิพลจึงเกิดขึ้นมา แต่ทุกคนก็รู้ว่าเขื่อนนี้เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ได้ทั้งไฟและเกษตรกรรม โดยเฉพาะทุ่งราบภาคกลางที่สามารถทำนาได้มากกว่าปีละครั้ง และเกษตรกรก็ไม่ต้องเสียค่าน้ำที่เขื่อนส่งมาให้ด้วย เพราะเขื่อนมีเงินรายได้จากการขายไฟฟ้าไปใช้หนี้คืนธนาคารโลกอยู่แล้ว"

แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเขื่อน

พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ กล่าวถึงแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเขื่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวว่า "พระองค์ทรงเริ่มโครงการพัฒนาจากการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ ทรงรับทราบปัญหาสำคัญเรื่องการขาดแคลน 'แหล่งน้ำ' ของพสกนิกรส่วนใหญ่ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น การแปรพระราชฐานไปที่ใดก็ตามพระองค์จะสมใจแต่เรื่องน้ำเป็นหลัก เพื่อหาทางให้มีการชลประทานไปสู่พื้นที่ที่ราษฎรเพาะปลูก และหากพบว่ามีแหล่งน้ำที่ใด พระองค์ก็จะทรงส่งเสริมให้มีการสร้างฝาย สร้างเขื่อน และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงให้ความสนพระทัยในเรื่องเขื่อนด้วย ทรงสนพระทัยว่าเขื่อนขนาดนี้ สูงเท่านี้ ควรจะมีเครื่องผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟอย่างไร ทรงเข้าพระทัยดีแม้กระทั่งว่าพื้นที่อ่างน้ำขนาดเท่านี้จะโดนแดดส่งลงมาน้ำ ระเหยไปเท่าไร ทรงเคยรับสั่งว่า โครงการทฤษฎีใหม่ที่ว่าให้มีการขุดบ่อน้ำ พื้นที่เท่านี้มีน้ำเท่านี้ ถ้าราษฎรไม่ใช้น้ำในอ่างภายในเวลาเท่าไร น้ำจะระเหยไปหมด เพราะฉะนั้นตอนน้ำเต็มอ่างก็ควรใช้ประโยชน์เสียก่อนที่น้ำจะระเหยไปในอากาศ หมด.....

"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ได้เจาะจง
เรื่องการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ทรงเข้าใจระบบ
ของการไฟฟ้าอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอน
การผลิตไฟฟ้า เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ
ยังทรงรู้สึกไปกว่านั้น คือการทรงพระราชทาน
แนวพระราชดำริในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
ในการผลิตไฟฟ้าด้วย
"

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ได้เจาะจงเรื่องการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ทรงเข้าใจระบบของการไฟฟ้าอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และยังทรงรู้ลึกไปกว่านั้น คือการทระพระราชทานแนวพระราชดำริในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการผลิตไฟฟ้า ด้วย เช่นที่หมู่บ้าน 'บ้านยาง' บริเวณเชิงดอยของอ่างขาง ซึ่งหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงดูแลอยู่ เดิมทีมีแหล่งน้ำไหลอยู่ตลอดในบริเวณนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปแล้วก็ตรัสว่า ที่นั่นพระองค์มีโรงงานทำผลไม้กระป๋อง (ปัจจุบันคือโรงงานผลิตเครื่องกระป๋องตรา 'ดอยคำ' ) แต่ไม่มีไฟฟ้า จึงทรงให้ท่านชายภีศเดชมาตาม กฟผ.ไปดูว่ามีน้ำมากพอสำหรับทำไฟฟ้าหรือไม่ กฟผ.รับพระราโชบายมา และทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ้านยาง โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องละ ๕๖ กิโลวัตต์ ๒ เครื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงเปิด ให้ด้วยพระองค์เอง โรงงานเครื่องกระป๋องและชาวบ้านในบริเวณนั้น จึงได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวด้วย"

ในประเด็นดังกล่าว คุณเกษม จาติกวนิช กล่าวเสริมว่า "การสร้างเขื่อนขนาดเล็กเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้น หากปล่อยให้ กฟผ.ไปทำลำพังอาจมีคนแย้งเรื่องความคุ้มค่า และอาจมีคนถามว่า มันเรื่องอะไรของ กฟผ. ที่จะไปทำโรงไฟฟ้าขนาดเล็กบนดอย แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดูแลทุกข์สุขของประชาชน เมื่อทรงรับสั่ง กฟผ.จึงได้สนองพระราชดำริ อยากให้พวกเราเห็นว่า การดูแลผลประโยชน์และผลตอบแทนเหล่านี้ไม่ควรมองพียงด้านเดียว แต่ต้องดูประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน เรียกว่าพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงกว้างขวาง มาก.....

แม้แต่เรื่องเขื่อนภูมิพล เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประเทศอิหร่าน พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้มีพระราชดำรัสเรื่องเขื่อนในประเทศอิหร่านกับ พระองค์ เมื่อพระเจ้าชาห์เสด็จฯเยือนประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงอยากให้พวกเรา กฟผ. แสดงให้ต่างชาติเห็นว่าพวกเราก็มีดี ก็ทรงให้ กฟผ.สร้างที่ประทับที่เขื่อน และให้เราต้อนรับพระเจ้าชาห์ โดยพระองค์ไม่ได้เสด็จฯด้วย พระองค์ทรงวางพระทัยพวก กฟผ. ทรงภูมิพระทัยว่าประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่เช่นกัน กฟผ. ก็สนองพระราชประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์ พระเจ้าชาห์ทรงคล้ายกับพระเจ้าอยู่หัวคือ ทรงสนพระทัยเรื่องเขื่อน เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กฟผ.ถวายรายงานว่าเขื่อนภูมิพลสูงเท่าไหร่ ความจุเท่าไหร่ ตอนแรกพระเจ้าชาห์ทรงมีทีท่าทางว่ามีขนาดใหญ่ แต่พอทรงประทับเรือลงไปในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลก็ทรงเชื่อ ทรงตรัสว่า 'นี่มันไม่ใช่อ่าง นี่มันทะเล' ....

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระทัยเรื่องเขื่อนภูมิพลเสมอ เคยรับสั่งด้วยความเป็นห่วงว่า 'วันหนึ่งถ้าตะกอนจะเต็มแล้วจะทำอย่างไร' กฟผ.ก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน แม้ตามหลักวิชาการแล้วไม่น่าจะเต็ม ตรัสว่า 'ถ้าไม่คิดไว้ก่อน บอกว่ายังไม่ถึงเวลาคิด ถ้าถึงเวลาแล้วจะคิดออกไหม' เมื่อกราบบังคมทูลไปว่าคิดออก พระองค์ท่านก็ตรัสว่า 'ถ้าคิดออกให้เขียนไว้ในกกระดาษแล้วเอาไปใส่ในไหไปฝังไว้เป็นลายแทง เผื่อว่าอีก ๔๐๐ ปีจะมีใครมาขุดเอาไปใช้ เพราะว่าเขื่อนมันเต็ม' ซึ่งในความเป็นจริง คำว่าเต็มนี้ไม่ได้หมายถึงต้องเต็มตัวเขื่อน แค่เต็มที่ระยะ ๒๓๐ เมตร ในระดับ ELEVATION เป็นระดับปากท่อที่จะปล่อยน้ำลงปั่นเครื่องปั่นไฟ ซึ่งน้ำก็จะไม่เข้าท่อแล้ว เพราะฉะนั้นอายุของเขื่อนก็จะหมดตรงนั้น กฟผ. จึงได้ไปทำการวิจัยว่าตะกอนที่ตกมาแล้ว ตกตรงไหนบ้าง ปรากฏว่าว่ามันยังตกมาไม่ถึงตัวเขื่อน ก็ไปกราบทูลให้ทรงทราบ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นห่วงอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าทำเสร็จแล้วก็ปล่อยไป"

หลักในการจัดทำโครงการพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหลักไม่ว่า จะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ หรือมีจำนวนน้อยแค่ไหน

เช่น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปเปิดเขื่อนจุฬาภรณ์ ซึ่งก็เป็นที่ประหลาดว่า ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง ถ้าพระองค์เสด็จฯมาถึง ฟ้าจะเปิดทุกที คืนนั้นหลังจากทรงเปิดเขื่อนแล้วได้ทรงประทับแรมที่เขื่อนด้วยทรงมีรับสั่ง ว่า หมู่บ้านใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ไม่มีน้ำ ให้ กฟผ. ไปดูว่าสามารถช่วยอะไรชาวบ้านได้บ้าง ซึ่งที่มาที่ไปดังกล่าวพลอากาศตรี กำธนกล่าวว่า "ในการสร้างเขื่อนจุฬาภรณ์นั้น ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่า กฟผ. เก็บน้ำของชาวบ้านเอาไว้ ทั้งที่จริงๆ แล้วเขื่อนเก็บน้ำส่วนเกินในหน้าฝน พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ไปสร้างเขื่อนอีกแห่งเพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำไว้ ใช้ กฟผ. รับสนองพระราชประสงค์ โดยสร้างเขื่อน 'ห้วยกุ่ม' สร้างเสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวก็เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิด ผู้ว่าการ กฟผ. ในเวลานั้นกราบบังคมทูลว่า...เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่ เสด็จฯมาเปิดเขื่อนเล็กๆ พระองค์ท่านเหลียวกลับมาบอกว่า... 'นี่เขื่อนใหญ่ที่สุดของฉันแล้ว' ... เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชอัจฉริยะภาพของพระองค์ จะเห็นได้ว่าทรงรู้เรื่องเขื่อนดีมาก จึงทรงแนะนำได้ว่าที่โน่นควรทำ ที่นี่ไม่ควรทำ...

ย้อนกลับมาเรื่องเมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จฯเยี่ยมการก่อสร้างเขื่อนจุฬา ภรณ์นั้น เจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้กราบบังคมทูลว่า มีสะพานแห่งหนึ่งเหนือเขื่อน ตรงบริเวณทางข้างสันเขื่อนจะพังทุกปีเพราะน้ำไหลลง พระองค์ท่านทรงดูแผนที่แล้วรับสั่งว่า 'ทำไมไม่ผันน้ำให้ลงอ่างเสีย' เพราะเหตุว่าเขื่อนจุฬาภรณ์อยู่ในที่สูง น้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร ผลิตไฟฟ้าได้ ๑ กิโลวัตต์ กฟผ. ก็รับสนองแนวพระราชดำริมาทำฝายตอนบนสูง ๑๔ เมตร ดูเหมือนจะใช้ชื่อว่าฝายพรมธารา ผันน้ำไม่ให้ลงมาทางเก่าที่ทำให้สะพานพังด้วยการเจาะอุโมงค์แล้วอาบน้ำนั้น ลงอ่างของเขื่อนจุฬาภรณ์ ที่น่าชื่นใจก็คือ ในขณะที่ทำการก่อสร้าง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ซึ่งเสด็จมาประทับที่เขื่อนจุฬาภรณ์ ได้เสด็จลอดอุโมงค์นั้นด้วย ซึ่งนับเป็นสิริมงคลมาก ในที่สุดก็ผันน้ำลงอ่างได้ สะพานก็ไม่พัง น้ำที่ผันได้นั้นเข้าใจปีหนึ่งมีปริมาณสองล้านลูกบาศก์เมตร ได้ไฟฟ้าอีกสองล้าน ยูนิต ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งสองทางคือ เขื่อนไม่พัง แล้วยังได้น้ำไปเติมในอ่างอีกด้วย นับเป็นการพิสูจน์ถึงพระราชอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ พระองค์....

ในยุคที่มีการต่อสู้กับเรื่องคอมมิวนิสต์ เขื่องบางเขื่อนสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัยเช่นที่ช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร ปัจจุบัน คือจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นพื้นที่สีชมพู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกให้ กฟผ.ไปศึกษาว่ามีลำน้ำ ๓ แห่ง จะทำอะไรได้บ้าง จากนั้นได้ทรงรับสั่งให้สร้างเขื่อนขนาด ๒๔ กิโลวัตต์ เพื่อช่วย เหลือเกษตรกร ให้มีน้ำใช้ในตอนกลางวัน ส่วนไฟฟ้าผลิตในตอนกลางคืน กฟผ. ต้องไปหาอุบายด้วยการปล่อยน้ำผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืน แล้วให้เกษตรกรไปทำที่ดักน้ำให้ผันไปในพื้นที่เกษตร กลางวันเมื่อเกษตรกรมาทำงานก็มีน้ำรออยู่แล้วพระองค์ท่านทรงละเอียดมาก และที่เขื่อนนี้ กฟผ.ได้พัฒนาทดลองผลิตไฟฟ้าแสงแดดเป็นแห่งแรกด้วย จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านจะทรงคิดถึงเรื่องไฟฟ้าด้วย ไม่ใช่เรื่องนำมาใช้เพียงอย่างเดียว....

อีกเรื่องคือเขื่อนแม่งัด จังหวัดเชียงใหม่ กรมชลประทานสร้างเขื่อนใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นมาแทนที่เขื่อนเก่า พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปเยี่ยมและมีรับสั่งว่า ถ้าเขื่อนใหญ่โตอย่างนี้ กฟผ. จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้หรือไม่ นี่จะเป็นโครงการแรกที่ กฟผ. ได้ร่วมงานกับกรมชลประทานคือ กรมชลประทานสร้างเขื่อน กฟผ. ติดเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ ดูเหมือนว่าได้ปริมาณไฟฟ้าหลายเมกะวัตต์ แล้วพระองค์ท่านก็เสด็จฯ ไปเปิดให้ทั้งที่เดิมทีกรมชลประทานกับ กฟผ. ไม่เคยคิดจะทำร่วมกันมาก่อน แต่พอทรงรับสั่ง ทุกคนก็มาช่วยกัน...

เขื่อนอีกแห่งที่สร้างในยุคที่มีการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ คือ 'เขื่อนบางลาง' ที่จังหวัดยะลา เดิมทีภาคอื่นมีโรงไฟฟ้าหมดแล้ว แต่ภาคใต้ยังไม่มีโรงไฟฟ้า กฟผ. จึงเริ่มเข้าไปดำเนินการ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปเยี่ยมทั้งหมด ๓ ครั้ง และรับสั่งว่า 'ถ้าจะแก้ปัญหาให้ได้ ต้องเข้าถึงปัญหา' ในครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ กฟผ. หลายคนถูกคอมมิวนิสต์จับไป ถึงแม้จะมีหน่วยทหารไปอารักขาก็ตาม เพราะคอมมิวนิสต์คิดว่า กฟผ. ตัดถนนไปปราบเขา เราจึงต้องติดต่อกับผู้ก่อการร้ายด้วยการส่งจดหมายอธิบายว่า กฟผ.มาทำอะไร และด้วยพระบารมี ทางผู้ก่อการร้ายก็ตกลงยอม และยังไปชี้จุดที่มีกับระเบิดให้ด้วย ทาง กฟผ. ก็ไปเก็บระเบิดมาได้มา ๓ เข่ง คล้ายๆ กับว่ามีการหย่าทัพกันเฉพาะพื้นที่ตรงนี้....

และนอกจากนี้ ตอนที่สร้างเขื่อนดังกล่าว มีการย้ายราษฎรจากหมู่บ้านสองแห่งที่น้ำจะท่วม กฟผ. ได้ไปหาแหล่งน้ำเพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ ปรากฏว่าน้ำตรงหมู่บ้านนั้นสูงมาก น้ำไหลแรง พระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชดำริว่าทำไมไม่ทำไฟฟ้าเสียเลย กฟผ. ต้องขุดเป็นอุโมงค์คนลอดเข้าไปเอาโอ่ง ใส่กระดานเลื่อนไปขุดดินออกมา ทำท่อ ๑,๒๐๐ เมตรลงไปข้างล่างซึ่งเป็นถ้ำ เรียกว่าโรงไฟฟ้าใต้ดินบ้านสันติ โรงไฟฟ้าที่นี่เดินเครื่องอัตโนมัติตามเขื่อนบางลาง"

เรื่องราวในความทรงจำของอดีตท่านผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งสองท่านแสดงให้เห็นถึงพระราชอัจฉริยภาพ สายพระเนตรอันยาวไกล และพระวิสัยทัศน์รอบด้านเกี่ยวกับการใช้พลังงานน้ำ ซึ่งทรงคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ล้วนอยู่ในสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง


ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

โครงการพระราชดำริ พลังงานชีวภาพ : พลังแห่งพระปรีชาญาณ

นับเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของประชาชนชาวไทย ที่ได้เกิดและอาศัยอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระปรีชาสามารถ พระวิสัยทัศน์ด้านพลังงานทดแทนที่ทรงเริ่มต้นศึกษาวิจัยขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ทำให้ปัจจุบันประชาชนชาวไทยได้มีทางเลือกในการใช้พลังงานทดแทนที่คนไทย สามารถผลิตได้เอง สามารถลดปริมาณการนำเข้าได้เป็นจำนวนมาก

คุณแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวัง กล่าวถึงพระราชดำริเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ มีมานานกว่าสี่สิบปี ในหนังสือ "๗๒ ปี แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง" ว่า

"พระองค์ทรงรับสั่งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ แล้วว่าค่ารถจะแพง ก็แปลว่าน้ำมันจะแพง บังเอิญผมรู้จักกับพวกอุตสาหกรรมน้ำมัน แล้วคุยเรื่องนี้ เขาบอกว่าเขาแข่งขันกัน มันก็ต้องลดราคาลงไปเรื่อย ๆ พระองค์ก็รับสั่งให้ทดลองผลิตแอลกอฮอล์ทำน้ำมันเชื้อเพลิง ทำเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอล์ ในสวนจิตรลดา...

ตอนนั้นทรงมีพระราชปรารภว่าเมืองไทยกำลังเห่อปลูกต้นยูคาลิปตัส ที่ไหน ๆ ก็ปลูกหมด ยูคาลิปตัส ๓ ปี จึงจะตัดได้ แล้วท่านก็รับสั่งว่า ระหว่าง ๓ ปีเขาจะเอาอะไรกิน แต่ถ้าเผื่อปลูกอ้อย ปลูกทุกปีขายได้ทุกปี แล้วก็เอาอ้อยมาทำแอลกอฮอล์ เอาแอลกอฮอล์มาผสมเบนซิน เราก็ทดลองผสมตั้งแต่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งเบนซินทั้งน้ำมันดีเซล ใช้ได้รถยนต์ของโครงการส่วนพระองค์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และดีโซลฮอล์"

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพของโครงการโครงการส่วนพระองค์สวน จิตรลดา เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าในอนาคตอาจเกิดการขาดแคลน น้ำมัน จึงมีประราชประสงค์ให้นำอ้อยมาผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยพระราชทานเงินทุนวิจัยเริ่มต้นเป็นจำนวน ๙๒๕,๕๐๐ บาท


เอทานอล


การศึกษาวิจัยภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเริ่มตั้งแต่การทดลอง ปลูกอ้อยหลายพันธุ์ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดนำมาทำแอลกอฮอล์ นอกจากอ้อยที่ผลิตได้ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาแล้วยังออกไปรับซื้อ อ้อยจากเกษตรกรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบอีกด้วย

โรงงานแอลกอฮอล์ซึ่งมีทั้งเครื่องหีบอ้อย ถังหมัก หอกลั่นขนาดเล็ก เริ่มเดินเครื่องการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๒๙ สามารถผลิตแอลกอฮอล์ ๙๑ เปอร์เซ็นต์ได้ในอัตรา ๒.๘ ลิตรต่อชั่วโมง

ต่อมาเนื่องจากวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาใช้กากน้ำตาล และมีการสร้างอาคารศึกษาวิจังหลังใหม่ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

สำหรับแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้ในช่วงแรกยังไม่สามารถนำไปผสมกับเบนซินได้ จึงนำผลผลิตที่ได้ไปทำเป็นน้ำส้มสายชูต่อมาก็ทำเป็นแอลกอฮอล์แข็งใช้อุ่น อาหารให้กับทางห้องเครื่องของสวนจิตรลดา เนื่องจากเดิมใช้แอลกอฮอล์เหลว ครั้งหนึ่งเมื่อมีการขนส่งแอลกอฮอล์เหลวไปยังพระตำหนักในภาคเหนือ รถเกิดอุบัติเหตุทกให้ไฟไหม้รถทั้งคัน เพราะแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี จึงได้มีการคิดนำแอลกอฮอล์มาทำเป็นเชื้อเพลิงแข็งเพื่อความปลอดภัยแทน

โรงงานแอลกอฮอล์มีการปรับปรุงการกลั่นเรื่อยมาต่อมาก็สามารถผลิต แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ หรือที่เรียกว่าเอทานอลได้เป็นผลสำเร็จ

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเอทานอล

วัตถุดิบที่ใช้ผลิตเอทานอลแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ

  1. วัตถุดิบประเภทแป้ง ได้แก่ ธัญพืช ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง และพวกพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ เป็นต้น
  2. วัตถุดิบประเภทน้ำตาล ได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล บีตรูต ข้าวฟ่างหวาน เป็นต้น
  3. วัตถุดิบประเภทเส้นใย ส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้จากผลผลิตทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด รำข้าว เศษไม้ เศษกระดาษ ขี้เลื่อย วัชพืช รวมทั้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานกระดาษ เป็นต้น

เมื่อโรงงานแอลกอฮอล์ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาสามารถผลิต แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ และทดลองนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเติมเครื่องยนต์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์มีน้ำผสมอยู่ด้วย ต้องนำไปกลั่นแยกน้ำเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ หรือเอทานอล ก่อนนำไปผสมกับน้ำมันเบนซิน

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจึงนำแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ไปผ่านกระบวนการแยกน้ำที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทยเพื่อให้ได้เอทานอล และนำกลับมาผสมกับน้ำมันเบนซินที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

ปี พ.ศ.๒๕๓๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพื่อให้มีปริมาณเพียง พอผสมกับน้ำมันเบนซิน ๙๑ ในอัตราส่วน ๑ : ๙ ได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เติมให้กับรถยนต์ทุกคันของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งเป็นหนึ่งในหกโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ของสำนักพระราชวัง

เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงงานผลิตแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิง โดยโรงกลั่นใหม่นี้มีกำลังการผลิตแอลกอฮอล์ได้ชั่วโมงละ ๒๕ ลิตรในกระบวนการกลั่นจะได้น้ำกากส่าเป็นน้ำเสีย ซึ่งส่วนหนึ่งใช้รดกองปุ๋ยหมักของโรงงานปุ๋ยอินทรีย์

การผสมแอลกอฮอล์กับเบนซินของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาในระยะแรกเป็น การนำน้ำมันและเอทานอลมาผสมในถังธรรมดา ใช้แรงงานคนเขย่าให้เข้ากัน ต่อมาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในเวลานั้น) จึงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายหอผสมและสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์แก่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

ปี พ.ศ.๒๕๔๔ ภาคเอกชน ๒ กลุ่ม น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องแยกน้ำออกจากเอทานอล (Dehydration Unit) ๒ แบบ คือ เครื่อง Molecular Sieve Dehydration Unit และเครื่อง Membrane Dehydration Unit

ปัจจุบันสถานีบริการเชื้อเพลิงในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา นอกจากผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์เติมให้กับรถยนต์ทุกคันของโครงการแล้ว งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดายังเป็นแหล่ง ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจอีกด้วย

ขั้นตอนการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์และสูตรการผสมที่โครงการส่วนพระองค์สวน จิตรลดา

ขั้นตอนการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในเชิงพาณิชย์

นำวัตถุดิบอย่างเช่นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวฟ่างหวาน ฯลฯ ไปผ่านกระบวนการหมัก จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการกลั่นและแยกให้บริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้ได้เอทานอล ๙๕ เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นนำไปผ่านกระบวนการแยกน้ำ ทำให้ได้เป็นเอทานอล ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ ก่อนนำไปผสมกับน้ำมันเบนซิน ถ้าผสมกับน้ำมันเบนซิน ๘๗ ก็จะได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ๙๑ ถ้าผสมกับน้ำมันเบนซิน ๙๑ ก็จะได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ๙๕

จากพระราชดำริสู่ประชาชน

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๐ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ระยะหนึ่งก็ต้องหยุดไป เพราะราคาน้ำมันเบนซินในเวลานั้นถูกกว่าราคาแอลกอฮอล์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ จึงไม่คุ้มค่ากับการนำมาจำหน่าย

อย่างไรก็ตาม โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดายังคงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อย่างต่อเนื่องมาตลอด ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตราคาน้ำมัน การนำผลการศึกษาวิจัยเรื่องพลังงานทดแทนตามพระราชดำริมาต่อยอดขยายผลในเชิง พาณิชย์จึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

พ.ศ.๒๕๓๙ รัฐบาลมีนโยบายยกเลิกการเติมสารตะกั่วเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ทำให้โรงกลั่นน้ำมันต้องนำเข้าสารเพิ่มออกเทน MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) มาผสมกับน้ำมันเบนซินแทน อย่างไรก็ตาม สาร MTBE ซึ่งนอกจากช่วยลดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังประหยัดเงินตราต่างประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท รวมทั้งช่วยให้เกษตรกรสามารถขายผลิตผลทางเกษตรในราคาสูงขึ้น

พ.ศ.๒๕๔๔ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยเริ่มจำหน่าย ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท.บริเวณสำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต

ปีเดียวกัน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์จากมันสำปะหลัง แล้วนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ทดแทนสาร MTBE เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน ๙๕

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทดลองจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นครั้งแรกที่สถานีบริการน้ำมันถนนติวานนท์ ถนนพหลโยธิน ถนนเจริญกรุงตัดใหม่ และถนนนวมินทร์ ปีถัดมาเปิดเพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง ที่ถนนสุทธิสารวินิจฉัย

จนกระทั่งปัจจุบันเปิดจำหน่ายทั่วประเทศผ่านสถานีบริการกว่า ๖๐๐ แห่ง รวมถึงนำเอทานอลมาผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ๙๑ เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗

ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี น้ำมันแก๊สโซฮอล์ก็ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกจากช่วยลดการนำเข้าน้ำมันลงได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะเป็นพิษในอากาศได้อีกด้วย

"ปตท.ได้เข้าร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยทดสอบการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ใช้อัตราส่วนผสมของเอทานอล ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ และเบนซินธรรมดาเท่ากับ ๑:๙ หรือ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ กับรถยนต์ในโครงการส่วนพระองค์ฯ มีรถบรรทุกเครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็ก รวมทั้งรถจักรยานยนต์สองและสี่จังหวะ และน้ำมันดีโซฮอล์ใช้อัตราส่วนผสมของเอทานอล ๙๕ เปอร์เซ็นต์ และดีเซลเท่ากับ ๑๔ เปอร์เซ็นต์ โดยเติมกับสารอิมัลซิไฟเออร์ ใช้กับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กและรถไถแทรกเตอร์ เครื่องยนต์ Kubota ตลอดจนรถยนต์ดีเซลใช้สำหรับเก็บขยะ...

ผลการทดสอบปรากฏว่า ตลอดระยะเวลาการทดลองหนึ่งปี ไม่พบความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเครื่องยนต์ สามารถทำให้มลพิษไอเสียของเครื่องยนต์เบนซินลดลงประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ และลดควันดำได้ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ จากเครื่องยนต์ดีเซล แต่การสิ้นเปลืองมากขึ้นถึง เกือบ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล"

คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)


ดีโซฮอล์


ดีโซฮอล์ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมน้ำมันดีเซลกับแอลกอฮอล์ เพื่อนำไปใช้แทนน้ำมันของเครื่องยนต์ดีเซล

โครงการดีโซฮอล์เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๑ โดยโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาทดลองผสมแอลกอฮอล์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์กับน้ำมันดีเซลและสารอิมัลซิไฟเออร์ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้แอลกอฮอล์กับน้ำมันดีเซลผสมเข้ากันได้โดยไม่แยกกันที่ อัตราส่วน ๑๔:๘๕:๑

ดีโซฮอล์จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถแทรกเตอร์ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จากผลการทดลองพบว่าสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดีพอสมควร และสามารถลดควันดำลงไปประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์

ปัจจุบันดีโซฮอล์เป็นโครงการศึกษาวิจัยภายในโครงการส่วนพระองค์สวน จิตรลดาเท่านั้น ยังไม่มีการนำออกมาใช้ในเชิงพาณิชย์

"สำหรับการทดลองใช้ดีโซลฮอล์กับรถแทรกเตอร์ของโครงการส่วนพระองค์ฯ นั้น พบว่าในช่วงแรกกำลังของรถตกลงเนื่องจากเป็นรถที่ใช้งานหนัก ต้องการกำลังที่สูง แต่หลังจากดัดแปลงระบบการจ่ายน้ำมันแล้ว ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา"
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)


ไบโอดีเซล


เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก กำลังผลิตวันละ ๑๑๐ ลิตร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มสาธิตที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมีพระราชดำรัสให้ไปทดลองสร้างโรงงานให้กลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมใน พื้นที่จริง

ปีถัดมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทดลองขึ้นที่สหกรณ์ นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ปี พ.ศ.๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสให้สร้างโรงงานแปรรูปน้ำมัน ปาล์มขนาดเล็กครบวงจร ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๓

ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและกองงานส่วนพระองค์ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มการทดลองนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

จากการทดสอบพบว่า น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น ๆ หรืออาจใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลได้ตั้งแต่ ๐.๐๑ เปอร์เซ็นต์ ไปจนถึง ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์

"การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่อง ยนต์ดีเซล"

จากผลความสำเร็จดังกล่าว เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ยื่นจดสิทธิบัตร "การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล"

ปีเดียวกันนั้นสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติอัญเชิญอัญเชิญผลงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ผลงาน คือ ทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวงและโครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ "Brussels Eureka 2001" ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ได้รับเหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล

พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เพียงประจักษ์ในหมู่ พสกนิกรชาวไทยเท่านั้น แต่ยังขจรขจายไปในเวทีนานาชาติอีกด้วย

ไบโอดีเซลคืออะไร

ไบโอดีเซล (Biodiesel) คือ น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารนำมาทำปฏิกิรยาทางเคมีกับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่าสารเอสเตอร์ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก และในกระบวนการผลิตยังได้กลีเซอรอลเป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์อีกด้วย

วัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซล

วัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลได้แก่น้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ทุกชนิด แต่การนำพืชน้ำมันชนิดใดมาทำเป็นไบโอดีเซลนั้น แตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาทำจากถั่วเหลืองซึ่งปลูกเป็นจำนวนมาก ส่วนในประเทศแถบยุโรป ทำจากเมล็ดเรพและเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยผลิตไบโอดีเซลจากมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน โดยผลการวิจัยในปัจจุบันพบว่าปาล์มคือพืชที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ ทำไบโอดีเซล เพราะเป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงสูงกว่าพืชน้ำมันชนิด อื่น จากการที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้ำมันต่อไร่สูงกว่าเมล็ดเรพซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตไบโอดีเซลในประเทศแถบยุโรปถึง ๕ เท่า และสูงกว่าถั่วเหลืองที่ใช้กันมากในสหรัฐอเมริกาถึง ๑๐ เท่า

เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งกับผู้บริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารจากประเทศญี่ปุ่นที่มาเข้าเฝ้าฯเรื่องเมล็ดสบู่ดำ ว่าน่าจะมีคุณสมบัติบางอย่างดีกว่าน้ำมันปาล์มในการทำ ไบโอดีเซล เพราะต้นสบู่ดำเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปาล์มน้ำมัน และสามารถเก็บผลผลิตได้หลังจากปลูกไม่เกิน ๑ ปี นอกจากนั้นสบู่ดำยังไม่เป็นอาหารของมนุษย์หรือสัตว์ แม้จะมีข้อเสียเรื่องพิษของเมล็ดสบู่ดำที่อาจเกิดขึ้นแก่มนุษย์ได้หากรับ ประทานหรือสัมผัส

บริษัท โตโยต้าฯจึงร่วมกับหลายหน่วยงาน อันได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ Toyota Technical Center Asia-Pacific จัดทำโครงการวิจัยเรื่องเมล็ดสบู่ดำ

ทั้งนี้จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ต้นสบู่ดำขยายพันธุ์ง่ายและมีอายุยืนกว่าต้นปาล์ม โดยมีอายุยืนถึง ๕๐ ปี และเริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ ๕-๘ เดือน สำหรับโครงการวิจัยในขั้นต่อไปจะเป็นการศึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยเมล็ดพันธุ์ที่ให้น้ำมันสูงสุด การปลูก แมลงที่เป็นศัตรูพืชและเป็นประโยชน์ การเก็บเมล็ด การสกัดน้ำมัน การทดสอบกับเครื่องยนต์ รวมทั้งการศึกษาเรื่องต้นทุนการผลิตด้วย

นอกจากพืชดังกล่าวมาแล้ว น้ำมันพืชใช้แล้วก็สามารถนำมาทำไบโอดีเซลได้เช่นกัน และน้ำมันพืชใช้แล้วก็เป็นวัตถุดิบอีกชนิดหนึ่งที่โครงการส่วนพระองค์สวน จิตรลดาใช้ผลิตไบโอดีเซลมาเนิ่นนานแล้ว โดยนำน้ำมันเหลือใช้จากห้องเครื่องมาทำเป็นไบโอดีเซล

ปัจจุบัน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก็เริ่มรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วไปทำเป็นไบโอดีเซลเช่นกัน

หลักการผลิตไบโอดีเซล

วัตถุดิบที่มีศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยได้แก่ น้ำมันพืชใช้แล้วและพืชน้ำมัน โดยนำมาผสมกับเมทานอลหรือเอทานอล จะได้เมทิลเอสเตอร์หรือเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งก็คือไบโอดีเซล และได้กลีเซอรอลเป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมและเครื่องสำอางอีกด้วย

ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์

นำพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว สบู่ดำ ละหุ่ง ฯลฯ ไปผ่านกระบวนการบีบหรือสกัดด้วยตัวทำละลายทำให้ได้น้ำมันพืช หลังจากนั้นผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ นำไปผ่านกระบวนการ transesterification ด้วยการเติมสารตระกูลแอลกอฮอล์ จะได้เป็นไบโอดีเซล


จากพระราชดำริสู่ประชาชน

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก ในวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๔ รถยนต์พระที่นั่งติดสติ๊กเกอร์ท้ายรถว่า "รถคันนี้ใช้น้ำมันปาล์ม ๑๐๐%"

เดือนถัดมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดโครงการนำร่องจำหน่ายน้ำมันดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ในวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ซึ่งปัจจุบัน ปตท.มีสถานีจำหน่ายน้ำมันชนิดนี้ ๔ สถานี และได้ขยายการบริการน้ำมันไบโอดีเซล B5 จำนวน ๓๐ สถานี

ส่วนบริษัท บางจากปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมทดลองผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซล (B5 ในระยะแรกและ B5 ในปัจจุบัน) ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก ถนนมหิดล จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อกลางปี ๒๕๔๗ ในระยะแรกจำหน่ายให้กับรถยนต์รับจ้างสองแถวที่เข้าร่วมโครงการ ๑,๓๐๐ คัน ต่อมาได้ขยายการจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการให้การสนับสนุนในการทำไบโอดีเซลชุมชน โดยมีเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ.๒๕๔๙ จะจัดให้มีไบโอดีเซลชุมชนให้ได้ ๖๐ แห่ง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยยึดแนวพระราชดำริเข้าถึง เข้าใจ พัฒนา ด้วยการไปสำรวจและศึกษาก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวเหมาะจะทำไบโอดีเซลจากอะไร หากพื้นที่ดังกล่าวเหมาะกับการปลูกปาล์ม ก็ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกปาล์ม พื้นที่ใดปลูกสบู่ดำอยู่แล้ว ก็นำเครื่องทำไบโอดีเซลที่ใช้กับสบู่ดำเข้าไปให้ประชาชน หรืออาจเลือกใช้น้ำมันพืชใช้แล้วซึ่งใช้ได้กับทุกพื้นที่ อย่างเช่นที่ชุมชนที่หนองจอก กรุงเทพมหานครก็มีการทำไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เพื่อใช้เติมเครื่องยนต์ทางการเกษตร


ไบโอดีเซลในประเทศไทย

ไบโอดีเซลในประเทศไทยแบ่งออกเป็นสองมาตรฐาน คือ ไบโอดีเซลชุมชนและไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์

ไบโอดีเซลชุมชน คือ ไบโอดีเซลที่กลั่นออกมาเป็นน้ำมันพืชเหมือนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ที่เรียกกันว่าปาล์มน้ำมันโคโค่ดีเซล เป็นไบโอดีเซลที่เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียว รอบเครื่องยนต์คงที่ เช่น รถเดินลาก รถอีแต๋น เครื่องสูบน้ำ แต่ไม่เหมาะกับการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เพราะในระยะยาวจะทำให้เกิดยางเหนียวในเครื่อง

ไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ เป็นการนำน้ำมันพืชไปผ่านขั้นตอน transesterfication เป็นสารเอสเตอร์ ที่เรียกกันว่า B100 นำมาผสมกับน้ำมันดีเซล อย่างเช่น น้ำมัน B5 ก็คือมีน้ำมันดีเซลในอัตราส่วนน้ำมันดีเซลต่อน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ ๙๕:๕ จะได้ B5

"เป็นที่ตระหนักกันดีในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุทางการเกษตร พระองค์ทรงริเริ่มมาเป็นเวลานานกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว เมื่อ ปตท.ได้มีโอกาสสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการสนับสนุนงานติดตามศึกษาวิจัยและ พัฒนา ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๘ จึงนับเป็นอีกงานหนึ่งที่ ปตท.มีความปลื้มปิติและมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง"
คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

"บางจากได้แรงบันดาลใจจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เราจึงอยากทำงานวิจัยร่วมกับภาครัฐและภาคการศึกษา ปั๊มสหกรณ์ของบริษัทบางจากถือว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้"
ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)


ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

กิจกรรมปลูปป่าหนุนโครงการในพระราชดำริ


กรมพัฒน์ฯ หนุนโครงการในพระราชดำริสมเด็จพระราชินีอุ้มปชช.3 จังหวัดชายแดนใต้

กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดโครงการฝึกอาชีพ หนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ เดินหน้าสร้างทักษะ สร้างอาชีพ ให้ปชช.ชายแดนใต้ เดินหน้ากิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ และสนับสนุนเมล็ดพืชทดลองปลูก

นาย วิโรจน์ เกษมสัตย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบการ กล่าวว่า จาก ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามนโยบายรัฐบาล กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงได้เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริใน พระบาทมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ภายใต้ชื่อ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิตมีความสุข 84 ตำบล

ที่ ผ่านมากรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ผู้ประกอบการเกษตรกรรมและประชาชนตามโครงการพระ ราชดำริใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังนี้ คือ แจกเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับทดลองปลูกในฟาร์มตัวอย่างในโครงการพระราชดำริฯ จำนวน 12 แห่ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรกรม พัฒนาฝีมือแรงงานได้มีการศึกษาดูงานการจัดทำแปลงและการปลูกผักไร้ดิน ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะได้สามารถนำผลผลิตมาใช้ในการประกอบอาหารและจำหน่ายสร้างรายได้ รวมทั้งให้มีการจ้างงานและรับซื้อกระเป๋าผ้าจากประชาชนใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการมีรายได้ มีการติดตั้งแปลงปลูกผักไร้ดินต้นแบบ ขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 7 เมตร ภายในพื้นที่โครงการพระราชดำริฯ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส

สำหรับ 2 โครงการล่าสุดคือ โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานกลุ่มสตรีมุสลิมในพื้นที่ 84 ตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดฝึกอาชีพหลักสูตรการทำถุงผ้าและของที่ระลึก และจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษา 12 ส.ค.52 โดยได้จัดกิจกรรมดังกล่าวไปในวันที่ 11 ส.ค.52 ณ พื้นที่ป่าชายเลน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ซึ่งมีการปลูกต้นกล้าโกงกาง จำนวน 2,000 ต้น

โครงการฝายคลองช่องเรือ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี


ที่ตั้งโครงการ

หมู่ที่ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี

ประวัติโครงการ

สํานักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวังได้มี

หนังสือที่รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน 2544 เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะ กรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร 1108/2098 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน 2544 ถึงสํานักราชเลขาธิการ ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการ ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค จากโครงการประปาภูเขา ช่องเรือ ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สํานักชลประทานที่ 16 ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดําริและราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษา ข้อมูลต่าง ๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความ เดือดร้อนได้โดยการก่อสร้าง ฝายคลองช่องเรือทดแทนทํานบคอนกรีตเดิมที่ชํารุด พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และถังอุปโภค-บริโภค เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว

ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วและทรงรับเป็น โครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/18753 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก หมู่ที่ 5บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร

รายละเอียดโครงการ

- ที่ตั้งหัวงานพิกัด 47 NQH 331-361 ระวาง 5,222 III

- พื้นที่รับน้ำ ประมาณ 3,800 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,227.04 มม.

ลักษณะโครงการ

- ก่อสร้างฝายสูง 2.00 เมตร จํานวน 1 แห่ง

- ก่อสร้างถังเก็บน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร

- ถังกรองน้ำ - ถังเก็บน้ำความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 11 แห่ง

- ท่อส่งน้ำ ∅ 0.25 เมตร 0.15 เมตร และ0.055 เมตร ความยาวรวม 12,325 เมตร

ระยะดําเนินการ

งบประมาณในการก่อสร้าง

งบประมาณที่ได้รับ 22,906,000 บาท

ประโยชน์ที่คาดว่าจะ ได้รับ

สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ , หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ , หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก และหมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน จํานวนประชากรประมาณ 1,798 คน มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ได้ตลอดทั้งปี


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพระราชดำริดอยตุง


โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริ


ความเป็นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี
พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
--------------------------------------------------------------

Copyright (c) 2007. http://www.bpp.go.th All rights reserved. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน E-mail Address : bpp_ict@bpp.go.th

โครงการพระราชดำริฝนหลวง



โครงการฝนหลวง
รัฐบาลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น และตระหนักในพระปรีชา
สามารถพระอัจฉริยภาพ ตลอดจนพระอุตสาหะวิริยะที่ทรงเสียสละเหนื่อยยากตรากตรำพระวรกาย ไม่เพียงแต่ทรงก่อให้เกิดแนวพระราชดำริขึ้นมาเท่านั้นยังทรงค้นคว้าทดลองปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง จนทรงสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นวัตกรรม “เทคโนโลยีฝนหลวง” พระราชทานให้ใช้ในการปฏิบัติการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงจากแหล่งทรัพยากรน้ำในบรรยากาศอันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรน้ำในโลกทั้งบนผิวพื้นและใต้ดิน เพื่อกอบกู้หรือป้องกันภัยพิบัติอันเนื่องจากภัยแล้งให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในมนุษย์โลกทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน นอกจากนั้นยังทรงติดตามการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติแห้งแล้งอย่างรุนแรง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้งอีกทางหนึ่ง โดยนอกจากจะทรงบัญชาการปฏิบัติการด้วยพระองค์เองแล้วยังพระราชทานพระราชาทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นครั้งคราว รวมทั้งทรงพัฒนาเทคโนโลยี และประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวงให้ก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลยิ่งๆขึ้น ตลอดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนล่าสุด พ.ศ. 2542 ทรงพัฒนากรรมวิธีการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนจากทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นในคราวเดียวกันเรียกว่า เทคนิค “SUPER SANDWICH” และทรงประดิษฐ์เป็นแผนภาพขั้นตอนกรรมวิธีด้วยคอมพิวเตอร์เรียกว่า “ตำราฝนหลวงพระราชทาน” จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในประเทศให้เป็นนวัตกรรมการดัดแปรสภาพให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2545 และพระราชทานให้เป็นเทคโนโลยีในการปฏิบัติการให้ก้าวหน้าตามราโชบายของโครงการฝนหลวง ป้องกันมิให้เกิดภัยพิบัติและภาวะวิกฤตอันเนื่องจากภัยแล้งจนขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั้งด้านการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลเป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งได้รับการลงทะเบียนคำขอจดสิทธิบัตรการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยเทคโนโลยีฝนหลวงไว้แล้วทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
โครงการฝนหลวงนี้ นอกจากจะคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมแล้วยังเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงให้รอดพ้นจากภัยพิบัติอันเนื่องจากภัยแล้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทผู้ยากไร้ที่อยู่ห่างไกลในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างแท้จริงกิติศัพท์ความสำเร็จและพระปรีชาสามารถแผ่ไพศาลเป็นที่ยอมรับในมวลหมู่สมาชิกประเทศขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก 178 ประเทศ จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ2
2
และเกียรติบัตรสดุดีพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ และองค์การของสหประชาชาติรวมทั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
รัฐบาลไทยประจักษ์ในพระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้น
กระหม่อมได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” จึงเห็นได้ว่า โครงการฝนหลวง ทรงคุณค่าและคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติถ้วนหน้า เป็นโครงการรองรับเทคโนโลยีฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พระราชทานเป็นตำราฝนหลวงในการตัดแปรสภาพอากาศและเพิ่มปริมาณฝนจากแหล่งทรัพยากรน้ำในบรรยากาศ เพื่อกอบกู้หรือป้องกันภัยแล้งอันเนื่องมาจากการขาดแคลนทรัพยากรน้ำทั้งบนผิวพื้นและใต้ดินในมนุษย์โลกทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนเพื่อให้มวลมนุษย์ชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทผู้ยากไร้อยู่ห่างไกลในท้องถิ่นทุรกันรอดพ้นจากภัยพิบัติและภาวะวิกฤติอันเนื่องจากภัยแล้ง ให้สัมฤทธิ์ผลตามพระบรมราโชบาย ขอแนะนำทางเทคนิคตำราฝนหลวงพระราชทาน ตลอดจนสิทธิบัตรการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงที่ทรงจดไว้แล้วในปัจจุบันและที่จะทรงจดในอนาคต ได้ครบถ้วนอย่างมีศักยภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งให้มีการสืบทอดและพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างเข้มแข็งมั่นคงยั่งยืนสภาพรสืบไป
**********************
http://74.125.153.132/search?q=cache:diwnEMpC0Kg